Page 55 - kpiebook63011
P. 55
55
3. นักวิชาการทางรัฐศาสตร์
4. ผู้นำาท้องถิ่น เครือข่ายกลุ่มผู้นำาการเมืองของพรรคการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
5. ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ครั้งแรก และประชาชนทั่วไปโดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในเขตอำาเภอเมืองและ
เขตอำาเภอรอบนอกอำาเภอเมืองเชียงใหม่
3.4 กำรวิเครำะห์ข้อมูล
ภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและช่วงเวลาของการเลือกตั้งทั้งจากเอกสารและพื้นที่
การวิจัย ผู้วิจัยได้ทำาการสกัดข้อมูลเนื้อหาทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดกลุ่มข้อมูลด้วยการ
ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Data Triangulation) คือ การตรวจสอบเวลา พื้นที่ บุคคลว่ามีความเหมือนหรือ
มีความต่างกันหรือไม่เพราะเหตุใด โดยนำามาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่นำามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์
โดยใช้แนวทางในการวิเคราะห์ตีความจากประเด็นและการปรากฏของภาพ เสียงและเนื้อหาของข้อมูลใน
รูปแบบต่าง ๆ (Interpretative Analysis) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) และการวิเคราะห์
เชิงอรรถาธิบาย (Descriptive Analysis) ที่สำาคัญการนำาเสนอข้อมูลในการวิจัยเป็นการนำาเสนอในรูปแบบของ
การพรรณนาและอธิบายบริบท สภาพแวดล้อมทางการเมือง การนำาเสนอข้อเท็จจริงของพื้นที่จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเพื่อนำาไปสู่ข้อสรุปของงานวิจัย
3.5 ข้อจ�ำกัดของกำรวิจัย
ในการรวบรวมข้อมูลพื้นที่และการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังวันเลือกตั้ง
วันที่ 24 มีนาคม 2562 ผู้วิจัยได้สรุปประเด็นสำาคัญจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่วิจัยจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
3.5.1 สภาพแวดล้อมทางการเมืองของจังหวัดเชียงใหม่มีบรรยากาศของความหวาดระแวง ที่มีผล
ต่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปที่ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะการซื้อเสียง และการได้รับ
ค่าตอบแทนในช่วงเวลาก่อนและหลังการเลือกตั้ง ซึ่งข้อจำากัดนี้ทำาให้นักวิจัยที่สนใจทำาการศึกษาเรื่องการเลือกตั้ง
ภายใต้บริบทที่ยังมีการควบคุมเคร่งครัดจากหน่วยงานราชการ จำาเป็นต้องลงพื้นที่ซำ้าหลายครั้งเพื่อสร้าง
ความคุ้นเคย และหาเครือข่ายผู้ให้ข้อมูลคนอื่น ๆ ที่สามารถใช้ข้อมูลมาสังเคราะห์ได้
3.5.2 การเข้าถึงข้อมูลทางการเมืองต้องอาศัยเครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้นำาการเมือง
และนักการเมืองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย โดยเฉพาะความไว้วางใจในการให้
ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องคำานึงถึงมาก