Page 37 - kpiebook63011
P. 37

37








                  สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตใบเดียวและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัคร

                  รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้เขตละ 1 คน การเปลี่ยนรูปแบบของบัตรเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นี้ ได้ส่งผล
                  อย่างมากต่อการตัดสินใจของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 นั้น

                  ได้กำาหนดให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดยมีการแบ่งการเลือกตัวบุคคลผู้สมัครในเขตต่าง ๆ และ เลือกพรรคการเมือง
                  หรือที่เรียกว่าเป็นการเลือก “คนที่รัก” และ “พรรคที่ชอบ” ที่ได้ทำาการแบ่งบัตรเลือกตั้งอย่างชัดเจนระหว่าง

                  การเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตกับบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง (บีบีซีไทย, 2561) แต่ในขณะที่การเลือกตั้ง
                  ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 นั้น เป็นการให้เลือกโดยการกาบัตรเพียงใบเดียว ซึ่งบัตรหนึ่งใบนี้จะเป็นการเลือก

                  ทั้งผู้สมัครและพรรคการเมือง ในการกาบัตรเพียงครั้งเดียว (ปุรวิชญ์ วัฒนสุข, 2562) หรือกล่าวได้ว่าเป็น
                  การเลือกผู้สมัครในเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อในคราวเดียว ซึ่งอาจหมายรวมไปถึงการเลือกตัวบุคคล

                  ที่พรรคจะเสนอขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในการกาบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ


                          โดยภายหลังการจัดการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ให้นำาคะแนนของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
                  แบ่งเขตของทุกคนมารวมเป็นคะแนนของพรรค และนำาคะแนนของทุกพรรคการเมืองมารวมเป็นคะแนน

                  ทั้งประเทศ จากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ยคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคควรจะได้ต่อ 1 คน คือ นำาคะแนน
                  ของทุกพรรคที่ได้รับเลือกตั้งทั้งประเทศหารด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด (500 คน) จากนั้น

                  ให้นำาผลค่าเฉลี่ยที่ได้ไปหารจำานวนคะแนนที่แต่ละพรรคได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งจำานวนที่แต่ละพรรคจะพึงมีสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งวิธีขั้นตอนของการคำานวณคะแนนในการที่จะได้มาซึ่งจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  ที่พรรคการเมืองพึงมี และการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง มีขั้นตอน
                  และรายละเอียด ดังนี้ (ปุรวิชญ์ วัฒนสุข, 2562)


                          1) นำาผลรวมของคะแนนที่เลือก ส.ส. จากทุกเขตเลือกตั้งของประเทศ จากทุกพรรคการเมืองที่ส่ง
                  ผู้สมัครลงแข่งขันในรูปแบบบัญชีรายชื่อ มาหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดใน

                  สภาผู้แทนราษฎร ผลจากการคำานวณจะได้เป็นสัดส่วนคะแนนต่อ ส.ส. 1 คน


                          2) นำาสัดส่วนคะแนนที่หารได้ในข้อที่ 1 ไปหารคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองพรรคนั้น ๆ

                  ได้รับเลือกจากระบบแบ่งเขต จะได้จำานวน ส.ส. ทั้งหมดที่พรรคนั้นพึงมี

                          3)  นำาจำานวน ส.ส. ทั้งหมดที่พรรคนั้นพึงมี ลบด้วยจำานวน ส.ส. แบบแบ่งเขต ที่พรรคการเมืองนั้น ๆ

                  ได้รับ จะได้ จำานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคนั้นพึงมี


                           3.1)   หากผลลัพธ์เป็นทศนิยม จะยังไม่นำาเอาผลลัพธ์ที่เป็นทศนิยมมาคิดร่วม โดยจะไม่ทำาการปัดเศษ
                                ทศนิยมขึ้นหรือลง ให้นำาเอาเฉพาะจำานวนเต็มมาใช้คัดสรรจำานวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่

                                พรรคการเมืองนั้น ๆ พึงมี ซึ่งทศนิยมจะถูกนำามาใช้ในกรณีที่รวมทุกพรรคแล้วจำานวน ส.ส.
                                แบบบัญชีรายชื่อยังไม่ถึง 150 คน ให้พรรคการเมืองที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุด ได้รับ ส.ส.

                                แบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีก 1 คน ตามลำาดับจนกว่าจะครบจำานวน 150 คน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42