Page 35 - kpiebook63011
P. 35
35
ในการศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมืองและพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
มีแนวคิดและทฤษฎีมากมายที่สามารถนำามาใช้ในการวิเคราะห์และอธิบายเพื่อตอบโจทย์ของการวิจัยและ
บรรลุเป้าหมายของวัตถุประสงค์ในการศึกษา ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง
และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่” ได้นำาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
การเลือกตั้งที่ปรากฏแนวคิดและระเบียบ กฎเกณฑ์ตลอดจนองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง
มาเป็นกรอบในการอธิบายรูปแบบและกฎเกณฑ์ ข้อกำาหนดต่าง ๆ ของการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อความเข้าใจและ
การดำาเนินการในการจัดการเลือกตั้ง การตั้งมั่นของความเป็นพรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และ
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งมาสนับสนุนการวิเคราะห์
2.1 แนวคิดกำรจัดกำรกำรเลือกตั้ง (Electoral
Management)
การจัดการการเลือกตั้งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการออกแบบระบบการเลือกตั้งและการสร้างสภาพแวดล้อม
ของการเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ และข้อกำาหนดต่าง ๆ ที่จะถูกใช้ดำาเนินการในการเลือกตั้ง ซึ่งต้อง
อาศัยองค์กรที่เป็นทางการมีความชอบธรรมตามกฎหมาย และมีอำานาจมาเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการ
(IDEA, 2014) ในการทำาความเข้าใจเรื่องการจัดการการเลือกตั้ง สิ่งสำาคัญคือการทำาความเข้าใจระบบการเลือกตั้ง
ที่มีการประกาศใช้เสียก่อน โดยหลักการทั่วไประบบการเลือกตั้งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลัก คือ
ระบบเสียงข้างมาก (Majority or Plurality System) ระบบสัดส่วน (Proportional System) และระบบผสม
(Mixed System) โดยที่ประเทศไทยมีการใช้ระบบการเลือกตั้งปรับเปลี่ยนไปตามสาระและกลไกตามรัฐธรรมนูญ
ที่มักเป็นผลมาจากสภาพบริบทแวดล้อมทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา
ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 นั้น ระบบการเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยฉบับปี พ.ศ. 2560 โดยมีการกำาหนดระบบการเลือกตั้งที่เรียกว่า ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม
(Mixed Member Apportionment System: MMA) ซึ่งมีความแตกต่างไปจากระบบผสมเสียงข้างมาก
(Mixed Member Majority System: MMM) ที่มีการใช้ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550
และพ.ศ. 2554 (ณัชชาภัทร อมรกุล, อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และฐิติกร สังข์แก้ว, 2562, น. 83)