Page 30 - kpiebook63011
P. 30

30    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      จากตาราง 1.1 ข้างต้นจะเห็นว่า จำานวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่

             โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขของบัตรเสียและผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนก็สะท้อน
             ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งอย่างเห็นได้ชัด ที่นำาไปสู่การให้เห็นถึงความสำาคัญของการให้ความรู้

             และทำาความเข้าใจเรื่องของระบบการเลือกตั้งที่นำามาสู่การลงคะแนนเสียงที่ถูกต้องและมีคุณภาพด้วย


                      อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 นั้น ได้นำามาสู่ข้อถกเถียงและคำาถาม
             จำานวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองใหม่ ๆ จำานวนผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง

             มีจำานวนมากเพื่อกอบโกยและเก็บคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองของตนเองอันเป็นผลมาจากระบบ
             การเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่มีการเปลี่ยนแปลง

             ในรายละเอียดของทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ท่ามกลางระยะเวลาที่มีอย่างจำากัด นำามาสู่
             ความสับสนและความขาดซึ่งข้อมูลในภาคประชาชน ตลอดจนการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองของนักการเมือง

             พรรคการเมืองหน้าเดิมและหน้าใหม่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่ภายใต้การกำาหนดควบคุมด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ

                      จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดที่เติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว

             อีกทั้งในทางการเมืองยังเป็นจังหวัดที่ฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองเดิมที่ยังคงรักษาฐานอำานาจในพื้นที่

             มานับสิบปี การเปลี่ยนผ่านอำานาจของผู้นำาการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นในช่วงเวลาของ
             สุญญากาศทางการเมืองภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ต่างส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมทางการเมือง
             ของประชาชน สภาวะก่อนและหลังการเลือกตั้งที่ผันแปรนี้จึงเป็นที่มาของการตั้งคำาถามจนนำามาสู่การตั้งโจทย์

             วิจัยในการศึกษาวิจัยนี้ที่เกี่ยวข้องกับบริบททางการเมือง พฤติกรรมของทั้งพรรคการเมือง ผู้สมัคร และประชาชน

             การต่อสู้แข่งขันผ่านกลไก หรือกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะนำามาสู่การหาคำาตอบในเชิงวิชาการเพื่อทำาความเข้าใจ
             และผลิตความรู้ความเข้าใจของการเลือกตั้งให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและผู้สนใจต่อไป






             1.2 วัตถุประสงค์



                       1)   เพื่อศึกษาและอธิบายบริบท บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง

                            ของพรรคการเมืองและนักการเมือง ตลอดจนกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
                            สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดเชียงใหม่

                       2)   เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว พฤติกรรมทางการเมือง ตลอดจนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

                            ของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดเชียงใหม่

                       3)   เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และกลุ่มการเมืองในพื้นที่

                            ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดเชียงใหม่
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35