Page 28 - kpiebook63011
P. 28

28    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      สำาหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทยที่มีความสำาคัญ

             เพราะได้มีการกำาหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม ภายหลังจากการเกิดสุญญากาศของการเลือกตั้ง
             ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากว่า 5 ปี นับจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยภายหลังการรัฐประหาร

             รัฐบาลที่นำาโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อีกทั้งยังเป็น
             หัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ การเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ดำาเนินการควบคุม การดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อขจัด

             ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสกัดการเติบโตของเครือข่ายอำานาจทางการเมืองของกลุ่มการเมืองและ
             พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เชื่อว่าส่งผลต่อความมั่นคงและอาจเป็นต้นตอที่นำามาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น

             สถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางการเมืองก่อนความชัดเจนของการกำาหนดวันเลือกตั้ง จึงเต็มไปด้วย
             กระแสข่าวของการเกิดขึ้นใหม่และการแตกกลุ่มของพรรคการเมือง การเปลี่ยนแปลงผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง

             การโยกย้ายพรรคของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การใช้อำานาจอิทธิพลของข้อมูลในการสร้างข่าว ความเชื่อ ตลอดจน
             เกิดการถกเถียงเรียกร้องความเสมอภาคและเป็นธรรมจากรัฐบาลในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง


                      นอกเหนือจากนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 (พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ) และกฎหมายอื่น ๆ รวมทั้งประกาศต่าง ๆ ของ
             คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีประเด็นและข้อกำาหนดที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของการ
             เลือกตั้งหลายประการ เช่น ระบบการเลือกตั้งที่เปลี่ยนจากบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเหลือบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว

             การเปลี่ยนแปลงจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจาก 375 คน ให้ลดลงเหลือ

             350 คน และเพิ่มจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจาก 125 คนเป็น 150 คน รวมจำานวนทั้งสิ้น
             500 คน การเปลี่ยนเขตเลือกตั้งที่มีการกำาหนดพื้นที่ที่แตกต่างไปจากการเลือกตั้งเดิม นำามาสู่การเคลื่อนตัว
             ของฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองและอดีตนักการเมืองในพื้นที่ จนนำาไปสู่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์

             ในการต่อสู้การเลือกตั้ง


                      การเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับชาติทั้งจากรัฐบาล องค์กร สถาบันทางการเมือง

             ต่าง ๆ และภาคประชาสังคมส่งผลต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของบริบท โอกาส และอำานาจทางการเมืองของ
             กลุ่มการเมืองในจังหวัดต่าง ๆ รวมไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคการเมือง
             หลายพรรค และที่ผ่านมามีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างเข้มข้นมาตลอด เนื่องด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             ของจังหวัดเชียงใหม่มีจำานวนมากที่สุดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ในขณะเดียวกันความหลากหลาย

             และตัวแปรทางการเมืองที่น่าสนใจ เช่น การเป็นจังหวัดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นจังหวัด
             ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 12 สถาบัน  ที่ทำาให้เชียงใหม่มีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา
                                                                   1


             1  สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 12 สถาบัน ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัย
             เทคโนโยลีราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, สถาบันการพละศึกษาประจำา
             วิทยาเขตเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
             ราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
             เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33