Page 29 - kpiebook63011
P. 29

29








                  ที่เป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกจำานวนมาก พร้อมกับการเป็นเมืองหลักของภาคเหนือตอนบนที่มีการเติบโต

                  ของภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม ทำาให้เกิดกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความเติบโตของเมือง และ
                  เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่อย่างหนาแน่นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงกลายมาเป็นตัวแปร

                  ที่นำาไปสู่การกำาหนดนโยบายพรรคและจุดแข็งของผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ ที่จะนำาเสนอทั้งประเด็นเชิงนโยบาย
                  และความเชื่อมั่นในการทำางานทางการเมืองให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ที่มีสภาพความแตกต่างทั้งในด้านภูมิศาสตร์

                  และเศรษฐกิจในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                          ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2562 ก่อให้เกิดกระแส

                  การตื่นตัวของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่พยายามนำาเสนอตัวต่อการเป็นตัวแทนของประชาชนจาก

                  หลากหลายพรรค มีทั้งนักการเมืองที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยมี
                  ประสบการณ์ทางการเมือง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์หาสมาชิกพรรคที่ได้ดำาเนินการอย่างเปิดเผยและไม่เปิดเผย
                  การนำาเสนอนโยบายและเริ่มการใช้ยุทธศาสตร์ในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                  จึงเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการแบ่งเขตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี 2562 ของพื้นที่จังหวัด

                  เชียงใหม่ลดเหลือ 9 เขตเลือกตั้ง ทำาให้มีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนแบบแบ่งเขตมีจำานวน 9 คน การปรับเขต
                  พื้นที่เขตเลือกตั้งใหม่นี้จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัพการหาเสียง เครือข่ายท้องถิ่น และการต่อรอง
                  ผลประโยชน์ในพื้นที่ระหว่างตัวบุคคลและพรรคการเมือง




                              จ�านวน                                                            บัตร

                              สมาชิก     ผู้มีสิทธิ  ผู้ใช้สิทธิ
                 เลือกตั้ง                                       ร้อยละ    บัตรเสีย   ร้อยละ ไม่ประสงค์ ร้อยละ
                             สภาผู้แทน   เลือกตั้ง    เลือกตั้ง                               ลงคะแนน

                              ราษฎร
                3 กรกฎาคม       10      1,205,955   1,002,549    83.13     77,145     7.69     44,471     4.44

                  2554

                23 ธันวาคม      11      1,149,288    955,935     83.18     32,049     3.35     61,154     6.40
                  2550

                6 กุมภาพันธ์    10      1,141,118    943,215     82.66     75,682     8.02     27,688     2.94
                  2548

                6 มกราคม        10      1,106,980    872,593     78.83     22,902     2.62     16,613     1.90
                  2544


                          ตาราง 1.1 แสดงข้อมูลการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัด

                  เชียงใหม่ (อ้างจาก ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548,
                  พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 จาก สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34