Page 27 - kpiebook63011
P. 27
27
1.1 บทน�ำ
ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่เติบโตงอกงามจากการยอมรับอำานาจของ
ประชาชน สามารถจำาแนกรูปแบบออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)
ซึ่งเป็นลักษณะของการปกครองที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนในการปกครองโดยตรง ในกระบวนการกำาหนด
นโยบายเพื่อบริหารประเทศ หรือในรูปแบบของการชุมนุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตัดสินใจเรื่องการเมือง
แต่ในปัจจุบันภายใต้บริบททางการเมืองสมัยใหม่ ตลอดจนความซับซ้อนของโครงสร้างและปัจจัยแวดล้อม
ทางการเมือง เช่น จำานวนประชากรที่มีมากขึ้น การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของ
อาชีพและระดับการศึกษา ทำาให้กฎ กติกาและรูปแบบของการใช้อำานาจของประชาชนในการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตยต้องอาศัยประชาธิปไตยทางอ้อม (Indirect Democracy) โดยใช้อำานาจผ่านการเลือกตั้ง
(Election) ในการเลือกผู้แทน (Representative) เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนในการใช้อำานาจทางการเมือง
การปกครองแทนประชาชน ซึ่งถือเป็นรูปแบบพื้นฐานที่เหมาะสมที่สุดในสังคมการเมืองที่เปิดพื้นที่ของเสรีภาพ
ในการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง
การเลือกตั้งจึงถือเป็นกิจกรรมที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนในฐานะเจ้าของอำานาจอธิปไตย
ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อแสวงหาบุคคลหรือพรรคการเมืองในการทำาหน้าที่ทางการบริหารและนิติบัญญัติเพื่อ
กำาหนดตัดสินใจเชิงนโยบายและบริหารประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุด สนองตอบความต้องการของประชาชน
การเลือกตั้งจึงถือได้ว่าเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีความสำาคัญ โดยหลักการพื้นฐานในการดำาเนินการ
จัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม เพื่อให้ผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นดั่งกระจกสะท้อนเจตจำานงที่แท้จริง
ของประชาชน และยังเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประเทศ อีกทั้งการเลือกตั้งยังช่วย
ส่งเสริมและกระตุ้นบทบาททั้งในส่วนของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในการนำาเสนอนโยบาย ผู้นำา
และอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นทางเลือกที่สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชน
คาดหวัง และมีความสำาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำานาจทางการเมือง
นอกจากนี้ การเลือกตั้งยังเป็นกระบวนการที่สะท้อนบทบาททั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นตัวแสดงสำาคัญทางการเมืองที่สามารถส่งผลต่อกระบวนการการเลือกตั้ง และการ
เปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ให้ตอบสนองต่อการส่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทางการเมือง
ที่มีแนวคิดหรือแนวนโยบายในการใช้อำานาจอันสอดคล้องต่อความต้องการของตนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตลอดจนถึง
การตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม การเลือกตั้งจึงเป็นเครื่องมือสำาคัญและเป็นช่องทางให้ประชาชนเกิด
ทางเลือกในการปกครองและสนองตอบความต้องการของตนเอง หากพิจารณาในทางทฤษฎี การเลือกตั้งถือเป็น
กิจกรรมที่สำาคัญอย่างยิ่งในกระบวนการทางการเมือง อันเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ที่เป็นตัวบ่งชี้สำาคัญว่าในช่วงเวลาหนึ่ง คณะบุคคลใดจะได้ทำาหน้าที่ในการบริหารประเทศ และประเทศจะเป็นไป
ในทิศทางใด ล้วนมาจากคะแนนเสียงความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่จากกระบวนการเลือกตั้ง โดยการ
ตัดสินใจของประชาชนที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองนั้นๆ