Page 62 - kpiebook63010
P. 62

61








                  ระบอบการเมืองนั้นมีเสถียรภาพ มีความชอบธรรม ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีความสำาคัญไม่น้อยไปกว่าการวิเคราะห์

                  กลยุทธ์การเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง และนโยบายของแต่ละพรรคในการเลือกตั้ง


                          การปรากฏตัวของลักษณะของการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนั้นมีได้หลายอย่างได้แก่

                          1.    การตกตำ่าลงของความไว้เนื้อเชื่อใจ และความมั่นใจต่อการเลือกตั้ง ทั้งจากตัวประชาชน

                                และตัวชนชั้นนำา

                          2.    ในการเลือกตั้งหรือหลังการเลือกตั้งนั้นนำาไปสู่การชุมนุมประท้วงโดยสันติ การไม่ร่วม

                                สังฆกรรมด้วยของฝ่ายค้าน การต่อสู้คดีความในศาล

                          3.    ในกรณีที่รุนแรงที่สุดก็คือ ความขัดแย้งเรื่องการเลือกตั้งนำาไปสู่ความรุนแรง (electoral
                                violence) ที่กระทบไปถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน




                          สาเหตุส่วนใหญ่ที่นำาไปสู่การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนั้นก็อาจจะมีตั้งแต่เรื่องของการโกง
                  การเลือกตั้งที่ทำาให้คนเริ่มไม่เลื่อมใสต่อการเลือกตั้ง การไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการเลือกตั้งก็มีส่วนนำาไปสู่
                  การประท้วง หรือแม้กระทั่งแต่ละฝ่ายรู้ว่าผลนั้นไม่เข้าข้างฝ่ายตนก็อาจจะเกิดการปะทุขึ้นของความขัดแย้ง

                  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายประชาชน หรือ ฝ่ายผู้มีอำานาจ--ชนชั้นนำา


                          การศึกษาการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทำาให้ไม่ด่วนสรุปง่าย ๆ ว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นวิถี
                  ทางประชาธิปไตยที่ชอบธรรมโดยอัตโนมัติ แต่ต้องทำาความเข้าใจการก่อรูปของความชอบธรรมของการเลือกตั้ง

                  และในบางครั้งการไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้งก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้เลือกตั้งส่วนมากไม่มีความรู้หรือถูกชักจูง
                  ด้วยเงิน แต่อาจหมายถึงกฎกติกาที่ร่างมามีจุดมุ่งหมายจะช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องการใช้การเลือกตั้ง

                  ที่อยู่ภายใต้กติกานั้น ๆ ขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำานาจ ตัวกรรมการเลือกตั้งก็ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่ทำาหน้าที่ที่ต้องทำา
                  (สรุปความจาก พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2561ข Thomassen, 2014 และ Norris, Frank, and Coma, 2015)







                  2.1.9  กำรเลือกตั้งกับสื่ออินเทอร์เน็ต


                          งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ใช่งานวิจัยที่สนใจเรื่องสื่อกับการเลือกตั้งโดยตรง แต่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง

                  การเลือกตั้งกับสื่อใหม่เป็นพิเศษ เนื่องจากการเติบโตของความนิยมและความเกี่ยวพันของอินเทอร์เน็ต
                  กับการเมืองโดยเฉพาะกับการเลือกตั้งนั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่นับบทบาทของสื่อใหม่กับการเมือง

                  ในมิติอื่น ๆ เช่นการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงบนท้องถนน การลงคะแนนเสียง การมีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
                  ขณะเดียวกันกฎระเบียบมากมายของรัฐที่ออกมากำากับดูแลอินเทอร์เน็ตก็ดูจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ

                  ในช่วงการรณรงค์หาเสียง
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67