Page 61 - kpiebook63010
P. 61

60       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนั้นมีรากฐานมาจากแนวคิดในการศึกษาทางการเมืองที่เต็มไปด้วย

             ความขัดแย้ง (contentious politics) มากกว่าเรื่องการแข่งขัน โดยการเมืองที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง
             ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ หรือทางศาสนา การประท้วงทางการเมือง สงครามกลางเมือง

             อารยะขัดขืน การต่อต้าน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการปฏิวัติ โดยที่การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนั้นหมายถึง
             การต่อสู้แข่งขัน (contests) ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ (challenges) ที่มีต่อความชอบธรรม

             (legitimacy) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง หรือผลของการเลือกตั้งเอง ซึ่งความท้าทายนี้
             ก็มีหลายระดับตั้งแต่ในระดับที่ไม่มากนักไปจนถึงระดับที่รุนแรงมาก


                      การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งนี้จะเกิดขึ้นในสังคมที่มีความขัดแย้งในระดับร้าวลึก ซึ่งมี

             ผลท้าทายไปที่ความชอบธรรมของหลายส่วน ได้แก่


                      1.    ท้าทายความชอบธรรมของผู้ที่มีส่วนในการจัดการเลือกตั้ง (electoral actors) เช่น
                            การตั้งคำาถามไปที่เรื่องของความเป็นกลางของผู้จัดเลือกตั้ง

                      2.    ท้าทายความชอบธรรมของกระบวนการเลือกตั้ง (electoral procedure) ทั้งวงจรของ

                            การเลือกตั้ง ตั้งแต่ความไม่เห็นด้วย/ไม่ลงรอยกันของความเห็นที่มีต่อกติกาการเลือกตั้ง อาทิ
                            การลากเส้นแบ่งเขตเลือกตั้ง การลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การลงทะเบียนผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                            และการจด/ลงทะเบียนพรรคการเมือง สำานักงานพรรค การใช้จ่ายในการหาเสียง การกำากับสื่อ
                            การกำากับกติกาการลงคะแนน และการคำานวณคะแนนที่จะมีผลต่อการได้เก้าอี้ผู้แทน

                      3.    ท้าทายความชอบธรรมของผลการเลือกตั้ง ที่จะมีผลต่อความชอบธรรมของผู้ชนะการเลือกตั้ง

                            ซึ่งในรายละเอียดก็รวมไปถึงตัวผู้นำาประเทศ ตัวผู้แทน และตัวพรรคการเมือง



                      กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง (contentious election) ตั้งคำาถามถึง
             ความชอบธรรมของการเลือกตั้ง ขณะที่การเลือกตั้งแบบที่เข้าใจโดยทั่วไปคือการเลือกตั้งที่เป็นการแข่งขันเสรี

             (competitive election) เป็นเรื่องของการตั้งคำาถามถึงผลการเลือกตั้ง และเชื่อว่าจะนำาไปสู่การเลือกตั้ง

             ที่มีความสมานฉันท์ (consensual election) ที่ยอมรับทั้งกติกาและผลของการเลือกตั้ง

                      การศึกษาการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทำาให้เราเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นไม่เท่ากับประชาธิปไตย

             แต่มีได้ในทุกระบอบรวมไปถึงเผด็จการและการปกครองแบบลูกผสม (hybrid regime) ทั้งนี้การเลือกตั้ง
             ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งพิจารณาถึงบริบทแวดล้อมของการเลือกตั้ง ที่มาที่ไปของการเลือกตั้ง โครงสร้าง

             ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การจัดวางสถาบันทางการเมือง และความชอบธรรมในยุคสมัยนั้น ๆ อย่างเป็นระบบ


                      การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้งกับความขัดแย้งทำาให้เราอาจเจอกรณีที่ ยิ่งเลือกตั้ง
             ความขัดแย้งก็ไม่ได้ลดลง และอาจจะเพิ่มมากขึ้น และทำาให้เราได้มีโอกาสพิจารณาความเป็นไปของการเลือกตั้ง

             ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและหาทางปรับแก้ หรือสร้างหลักประกันไม่ให้มันเกิดขึ้น ในฐานะเงื่อนไขที่จะทำาให้
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66