Page 56 - kpiebook63010
P. 56
55
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการด้านการศึกษาการเลือกตั้งได้ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นท้าทายในการ
สังเกตการณ์และรับรองผลการเลือกตั้งว่า ในทางปฏิบัตินั้นเมื่อมีการวัดประเมินผลการเลือกตั้งที่เสรีและ
เป็นธรรมแล้ว ก็หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะต้องมีสภาวะที่จำาต้องเลือกว่าจะให้การเลือกตั้งนั้นผ่านมาตรฐานขั้นตำ่า
หรือไม่ และสิ่งนี้เป็นส่วนสำาคัญที่ทำาให้การเลือกตั้งครั้งนั้นมีความชอบธรรม ทั้งที่ในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจริงนั้น
มีเรื่องราวในรายละเอียดและมีบริบทมากมายที่ควรพิจารณา (Bjornlund, 2004 อ้างใน Alvarez, Hall, and
Hyde, 2009)
ในประการสุดท้าย การศึกษาด้านการสังเกตการณ์เลือกตั้งพบว่า ในกรณีที่ประชาชนไม่เชื่อมั่น
ในการสังเกตการณ์และการตรวจสอบการเลือกตั้งขององค์กรภายในประเทศ ผู้สังเกตการณ์ในระดับนานาชาติ
ที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการแข่งขั้นนั้นเป็นทางเลือกที่สำาคัญในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง
(Sutter, 2003)
2.1.8.4 กำรเลือกตั้งที่มีควำมหมำย
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2561ก) เสนอว่า ส่วนสำาคัญของการเลือกตั้งที่จะทำาให้เกิดประชาธิปไตยที่มี
คุณภาพนั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนสำาคัญสี่ประการ
1. เป็นการเลือกตั้งที่ “เสรี” (free) กล่าวคือ ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกผู้สมัคร ในเขต
เลือกตั้งนั้น ๆ มีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน (ในระเบียบก็จะมีว่า หากมีแค่รายเดียวก็จะต้อง
ได้รับเสียงจำานวนหนึ่งที่มีนัยสำาคัญด้วย ไม่เช่นนั้นอาจไม่ได้มีคุณสมบัติของความเป็นตัวแทน
ของประชาชนได้)
2. เป็นการเลือกตั้งที่ “เป็นธรรม” (fair) หมายถึงว่า เปิดให้แข่งขันกัน ไม่มีการสร้างความได้เปรียบ
เสียเปรียบ บางพรรคไม่เริ่มหาเสียงได้ก่อนพรรคอื่น รัฐบาลที่อยู่ในอำานาจถ้าต้องการลงมาเลือกตั้ง
ก็จะต้องมีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ เพื่อไม่ไปอนุมัติโครงการอะไรในช่วงที่มีการแข่งขันกัน
กฎกติกาที่ใช้ ใช้ได้กับทุกพรรคเสมอกัน กระบวนการทุจริตการเลือกตั้งถูกลงโทษอย่างเท่าเทียมกัน
ทุกพรรค และไม่กลายเป็นอาวุธให้ฝ่ายผู้มีอำานาจใช้เล่นงานอีกฝ่ายหนึ่ง
3. เป็นการเลือกตั้งที่ “จัดขึ้นอย่างสมำ่าเสมอ” (regular) มีการกำาหนดที่แน่นอนชัดเจน ไม่เลื่อน
ไปเรื่อย ๆ
4. เป็นการเลือกตั้งที่ “มีความหมาย” (meaningful) ประชาชนจะมีส่วนในการเลือกตั้งไม่ใช่
แค่เรื่องของการถูกสั่งให้ไปแสดงตนเป็นพลเมืองเพียงแค่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้งในฐานะ
“การทำาหน้าที่” พลเมือง หรือเข้ามีส่วนร่วมในการสังเกตการเลือกตั้งในความหมายของ
การไป “จับทุจริต” การเลือกตั้ง แต่ยังต้องหมายรวมไปถึงการร่วมกันสร้างสรรค์บรรยากาศ
ของการเลือกตั้งให้เต็มไปด้วยความหวังและเหตุผลสาธารณะว่าการเลือกตั้งจะมีความหมาย
กับประชาชนอย่างไร