Page 54 - kpiebook63010
P. 54
53
จะรับผิดชอบต่อพันธสัญญาในความสัมพันธ์ได้หรือไม่ เพราะผู้ใต้อุปถัมภ์อาจจะไม่เชื่อว่าพรรคเหล่านั้นจะรักษา
สัญญาเอาไว้เมื่อได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งจากการสนับสนุนของตน (Stokes, 2011) อย่างไรก็ตามงานวิจัยเรื่อง
ระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองในปัจจุบันยังไม่สามารถมีข้อสรุปที่ตรงกันได้ว่า คนจนอาจจะเห็นกับผลประโยชน์เฉพาะหน้า
มากกว่าคำาสัญญาในเรื่องของนโยบายการกระจายทรัพยากรในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงเพราะเขาไม่กล้าเสี่ยงกับอนาคต
แต่สิ่งที่ค้นพบในบางกรณีนั้นชี้ว่า ผู้อุปภัมภ์และพรรคอุปภัมภ์โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปมีอำานาจรัฐแล้วอาจมีแรงจูงใจ
ที่จะไม่แก้ปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมอย่างเป็นระบบเพราะต้องการใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นเงื่อนไข
ของการอยู่ในอำานาจในพื้นที่เหล่านั้น (เพิ่งอ้าง)
ในประการสุดท้ายระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองและการซื้อเสียงอาจเป็นเรื่องที่เกิดจากการจัดวางสถาบัน
ทางการเมือง (institutional arrangement) บางอย่าง อาทิ กฎระเบียบ ระบบการเลือกตั้งที่กลับส่งเสริม
ให้เกิดการแข่งขันในพื้นที่แบบที่เน้นตัวบุคคล และต้องใช้กลไกหัวคะแนน ตัวกลาง และกลุ่มคนที่ต้องคอยจับตา
การกระทำาต่าง ๆ ของผู้ลงคะแนนเสียงในรายละเอียด หรือระบบพรรคการเมืองที่มีโครงสร้างหลวมและรวมอำานาจ
เข้าสู่ศูนย์กลางไม่ได้ ก็จะส่งผลให้เกิดการเมืองแบบระบบอุปถัมภ์ (Hicken, 2007 และ Stokes, 2011)
2.1.8.3 กำรเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมและกำรตรวจสอบกำรเลือกตั้ง
แม้ว่าการพูดถึงการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (free and fair election) นั้นจะเป็นสิ่งที่เป็นสิ่งที่รับรู้กัน
โดยทั่วไป แต่คำาจำากัดความในรายละเอียดของการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมในรายละเอียดอาจจะไม่ค่อยได้
มีการพูดถึงมากนัก
องค์กร Inter-Parliamentary Union ซึ่งเป็นศูนย์กลางของรัฐสภาทั่วโลกซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1889
และมีสมาชิกถึง 179 ประเทศจาก 193 ประเทศทั่วโลก (และประเทศไทยก็เป็นสมาชิกในองค์กรนี้) ได้นำาเสนอ
ข้อตกลงที่ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องน้อมนำาไปปฏิบัติทั้งหมดสิบประการในฐานะภาระหน้าที่ในระดับนานาชาติ
(international duty) เพื่อให้การเลือกตั้งนั้นเสรีและเป็นธรรม ดังนี้
1. ข้อปฏิบัติทางด้านกฎหมายเลือกตั้ง และ ระบบเลือกตั้ง (election law and system) โดย
การเลือกระบบการเลือกตั้งนั้นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการแสดงออกซึ่งเจตจำานงของประชาชน
ผ่านการเลือกตั้งที่สมำ่าเสมอและมีความถูกต้องแท้จริง (periodic and genuine election)
โดยจัดให้มีขึ้นบนพื้นฐานของความเท่าเทียมในการลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งด้วยบัตรเลือกตั้ง
ในคูหาที่ไม่มีใครรู้ว่าเลือกใคร (equal suffrage and secret ballot)
2. ข้อปฏิบัติทางด้านการกำาหนดเขตพื้นที่การเลือกตั้ง (constituency delimitation) โดยจะต้อง
ระมัดระวังไม่ให้การแบ่งเขตนั้นทำาให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันและพรากสิทธิของประชาชน
บางกลุ่มออกไป
3. ข้อปฏิบัติทางด้านการบริหารจัดการการเลือกตั้ง (election management) โดยจะต้อง
กระทำาโดยองค์กรที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ (independent and impartial) เพื่อสร้าง
ความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง