Page 50 - kpiebook63010
P. 50
49
และ รอยแยกระหว่างนายทุนกับชนชั้นแรงงาน ในแง่นี้ พรรคการเมืองในยุโรปที่เป็นตัวแทนของความแตกแยก
ดังกล่าวเท่านั้นที่จะอยู่รอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน (Lipset and Rokkan, 1990)
ข้อเสนอในเรื่องของการเมืองในมิติรอยแยกทางสังคมนั้น ได้รับการถกเถียงอย่างมากมาย พร้อมกับ
ข้อเสนอใหม่ ๆ อาทิ การปฏิเสธคำาอธิบายที่ว่าความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างทางสังคมนั้นมีผลต่อการดำารง
อยู่ของพรรคการเมือง หมายถึงว่าความแตกแยกในสังคมนั้นสะท้อนออกมาผ่านพรรคการเมือง หรือการเมืองเป็น
เพียงผลสะท้อนของความขัดแย้งในระดับโครงสร้างของสังคม สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ความขัดแย้งในสังคมนั้น
ไม่ได้เพียงสะท้อนออกมาทางการเมืองเท่านั้น ระบบการเมืองเองก็สร้างความขัดแย้งและรอยแยกทางสังคมด้วย
รวมทั้งยังตอกยำ้าและทำาให้ความแตกแยกในสังคมนั้นสะท้อนออกมาอีกด้วย รวมไปถึงบรรดาผู้ที่ทำางาน
ในพรรคการเมืองนั้นอาจจะมีส่วนสำาคัญที่ทำาให้ความแตกแยกและรอยแยกในสังคมนั้นดำาเนินต่อไป (Sartori,
1969) หรือการเกิดขึ้นของพรรคสมัยใหม่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม และ
พรรคนอกประสบการณ์ในยุโรป (Blondel and Inoguchi, 2012) และพรรคที่สามารถประสานประโยชน์
หรือรวบรวมความหลากหลายของผลประโยชน์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ (catch-all party) หรือเป็นพรรคที่สามารถ
สร้างบูรณาการจากความแตกแยกทางสังคมเข้าด้วยกัน (Kircheimer, 1966 อ้างใน Fabbrini, 2001) นอกจากนี้
ความเชื่อที่ว่าพรรคการเมืองนั้นพัฒนาขึ้นโดยธรรมชาติจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และรอยแยกทางสังคมนั้น
ละเลยการทำาความเข้าใจเงื่อนไขทางกฎระเบียบและสถาบันที่ส่งผลรูปแบบของการเมืองและพรรคการเมืองด้วย
(institutional engineering) (Blondel and Inoguchi, 2012)
2.1.7 กระบวนกำรตัดสินใจเลือกตั้งและตัวกลำง
Gunther, Costa Lobo, Bellucci และ Lisi (2016) เสนอว่า ปัจจุบันปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก
ลงคะแนนในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกทั้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่มานานและที่เพิ่งมีขึ้นใหม่มีอยู่
หลายประการ และมีความแตกต่างกันในเรื่องของประสบการณ์ในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย และ ระดับของ
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคม การวิจัยพบว่า สิ่งสำาคัญที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง (determinants of vote) นั้น
มีอยู่หลายประการ และมีลักษณะที่ไล่เรียงลำาดับกันไป (series of sequential factors) ได้แก่
1. ตัวแปรระดับโครงสร้าง (structural variables) อาทิ ชนชั้น ศาสนา และ ชาติพันธุ์
2. อิทธิพลของความมีใจโน้มเอียงทางการเมืองที่มีมาก่อนหน้านั้นอย่างยาวนาน (long-term
political predispositions) อาทิ คุณค่าทางการเมืองและสังคม ความโน้มเอียงทาง
อุดมกาณ์ในแบบซ้าย-ขวา หรือการเลือกข้างทางการเมือง
ทั้งนี้ อาจจะมองได้ว่า ตัวแปรทั้งสองตัวนี้มีผลสำาคัญในระดับของ “ความปริแยกหรือรอยแยก”
(cleavage) ที่เกิดขึ้นในสังคม