Page 47 - kpiebook63010
P. 47
46 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
2.1.4 พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง (electoral behavior) อาจมีความหมายในระดับกว้างและแคบ
ในการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งในความหมายกว้าง เราอาจศึกษาพฤติกรรมของสถาบัน
ทางการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งไล่เรียงมาตั้งแต่ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะกรรมการ
เลือกตั้ง ผู้เลือกตั้ง พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สื่อมวลชน และสถาบันทางการเมืองอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งที่
เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมไปถึงกรอบกติกาการเลือกตั้งต่าง ๆ และวัฒนธรรมการเลือกตั้งในสังคมนั้น ๆ
ขณะที่การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งในความหมายแคบ อาจจะศึกษาเพียงความคิดเห็นและแบบแผน
ในการลงคะแนนของผู้เลือกตั้ง (voting behavior) หรืออาจขยายไปศึกษาพฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้ง
ของผู้สมัคร (campaigning)
2.1.5 พฤติกรรมกำรลงคะแนนเสียง
การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงทำาให้เราสามารถทำาความเข้าใจกระบวนการและเหตุผล
ของการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงทำาให้เราเห็นตัวแบบ
การตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงอยู่หลายรูปลักษณะ อาทิ
1. การลงคะแนนเสียงตามอุดมการณ์ (Ideological Voting) หมายถึง เมื่อผู้ลงคะแนนตัดสินใจเลือก
ตามอุดมการณ์ของตน แต่การลงคะแนนในแบบอุดมการณ์นั้นมีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ลงคะแนนแม้ว่าจะมีชุด
และความโน้มเอียงทางอุดมการณ์ที่มีอยู่ก่อนในการกำาหนดการตัดสินใจ แต่อาจจะไม่ได้มีความเข้าใจ
อย่างถ่องแท้ในอุดมการณ์ทางการเมืองของตนอย่างแท้จริง หมายถึงว่า พวกเขาอาจมีอุดมการณ์กว้าง ๆ อาทิ เสรีนิยม
(liberal) อนุรักษ์นิยม (conservative) หรือกลาง ๆ (moderate) แต่ในบางครั้ง พวกเขาอาจจะมีอุดมการณ์
ที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันในทุกมิติ อาทิ ในทางสังคมที่พวกเขาอาจจะมีอุดมการณ์เสรีนิยม แต่ในทางประเด็น
ทางเศรษฐกิจพวกเขาอาจจะมีอุดมการณ์ในแบบอนุรักษ์นิยม (Miller and Shanks, 1996)
การลงคะแนนเสียงตามอุดมการณ์นี้มีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับมิติอื่น ๆ ในการตัดสินใจลงคะแนน
เสียง อาทิ ผู้เลือกตั้งอาจตัดสินใจลงคะแนนเสียงตามประเด็นนโยบายของแต่ละพรรคด้วยเงื่อนไขทางอุดมการณ์
หรือ ผู้สมัครเลือกตั้งอาจลงคะแนนเสียงโดยการคาดการณ์หรือสร้างการรับรู้เอาเองว่าผู้สมัครแต่ละคนนั้น
มีจุดยืนทางอุดมการณ์ตรงกับตน
2. การลงคะแนนเสียงตามนโยบาย (Policy Voting) หมายถึงการลงคะแนนเสียงที่เน้นไปที่การตัดสินใจ
ลงคะแนนด้วยการใช้เหตุผล (rational) หรืออาจเรียกว่า การลงคะแนนเสียงตามเหตุผล (Rational Voting)
โดยผู้ลงคะแนนนั้นตัดสินใจลงคะแนนตามนโยบายที่พวกเขาต้องการ (policy preference) ซึ่งถูกนำาเสนอ