Page 44 - kpiebook63010
P. 44

43











                  บทที่ 2



                  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
















                  2.1  ทฤษฎีและแนวคิดในกำรวิจัย





                  2.1.1  ควำมส�ำคัญของกำรเลือกตั้งกับกำรเมือง


                          การเลือกตั้ง (election) มีความสำาคัญต่อการเมืองในฐานะทั้งการเป็นกระบวนได้มาซึ่งผู้มีอำานาจ

                  ในการตัดสินใจนโยบายของประเทศ และการสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบการเมืองในนามของการอ้างว่า
                  ระบอบการเมืองดังกล่าวนั้นเป็นการปกครองโดยประชาชนผ่านรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของเขา


                          ในการศึกษาเรื่องการเลือกตั้งกับการเมือง เรามักจะมีข้อสรุปว่าการเลือกตั้งนั้นถือเป็นรากฐาน
                  หรือ ปัจจัยขั้นตำ่าของประชาธิปไตยจากคำาจำากัดความประชาธิปไตยเชิงกระบวนการ (procedural definition

                  of democracy) โดยประชาธิปไตยเชิงกระบวนการมองว่าการเลือกตั้งโดยเฉพาะกระบวนการเลือกตั้งนั้น
                  เป็นแกนสำาคัญของสิทธิอำานาจ (authority) ที่อยู่กับผู้ใช้อำานาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง และประชาชน

                  เป็นผู้เลือกคนเหล่านี้เข้ามาถืออำานาจ สิ่งสำาคัญของประชาธิปไตยเชิงกระบวนการจะอยู่ที่เรื่องของ
                  การให้ความสำาคัญกับตัวขั้นตอนและกระบวนที่นำาไปสู่การได้มาซึ่งสิทธิอำานาจ ซึ่งหมายถึงการให้ความสำาคัญ

                  กับกระบวนการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยนั้นจะมีผลออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับกระบวนการที่ถูกต้อง มากกว่า
                  ประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายหรือคุณค่าที่ปลายทาง


                          จากที่กล่าวมานี้การเลือกตั้งจึงอาจไม่ได้สัมพันธ์กับประชาธิปไตยในแง่ของการเป็นเงื่อนไข

                  ในการหาความจริง หรือการอ้างแค่ว่าถ้ามีการเลือกตั้งแล้วไม่จำาเป็นต้องตรวจสอบนักการเมืองที่มาจาก
                  การเลือกตั้งอีกจนกว่าจะมีการเลือกตั้งอีกครั้งเพราะถือว่าผู้นำาการเมืองนั้นมาจากการเลือกตั้งแล้ว (ประชาธิปไตย

                  แบบประชานิยม Populist Democracy) หรือการอธิบายว่าการเลือกตั้งนั้นเท่ากับการเลือกผู้นำาด้วยวิธีการ
                  ที่เปิดให้มีการแข่งขัน (Schumpeterian Democracy) แต่ประชาธิปไตยในแง่กระบวนการนั้นคือการให้

                  หลักประกันกับเสรีภาพที่เป็นหัวใจสำาคัญที่สุดของคุณค่าประชาธิปไตย โดยจะต้องทำาให้การเลือกตั้งนั้น
                  จะต้องมีการแข่งขันและเป็นธรรม (Saffon and Urbinati, 2013)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49