Page 48 - kpiebook63010
P. 48
47
มาจากแต่ละพรรคการเมือง หรือ ผู้สมัครฯ (Brody and Page, 1972) ความสำาคัญในการลงคะแนนในแบบ
นโยบายหรือเหตุผลนี้ หมายถึงว่า ผู้ลงคะแนนนั้นสามารถเลือกตัดสินใจตามนโยบายในแต่ละครั้งของการเลือกตั้ง
โดยอิสระ ไม่จำาเป็นที่จะเหมือนกับคราวที่แล้ว หรือครั้งต่อไป หรือกล่าวอีกอย่างว่าผลที่มีต่อการตัดสินใจ
เลือกตั้งนั้นเป็นผลลบในระยะสั้น (เพิ่งอ้าง) หรือกล่าวอีกอย่างว่า การลงคะแนนตามนโยบายนี้ไม่ใช่เรื่องของ
การลงคะแนนในแบบเดียวกับการลงคะแนนด้วยอุดมการณ์ที่เราอาจจะมีแบบแผนที่แน่นอนในการทำานาย
ในระยะยาว หรือเป็นการเมืองที่เลือกข้างอย่างชัดเจน (partisan politics)
3. การลงคะแนนเสียงตามอารมณ์ (Emotional Voting) เป็นการลงคะแนนเสียงที่ให้ความสำาคัญ
กับบทบาทของอารมณ์ความรู้สึกในการตัดสินใจลงคะแนนเสียง ซึ่งการพิจารณาบทบาทของอารมณ์
ในการลงคะแนนเสียงนี้ มีผลสำาคัญต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเลือกตั้ง (electoral arrangements)
บทบาทอันสลับซับซ้อนของการเลือกตั้งที่มีต่อประชาธิปไตย และทำาให้เกิดความสนใจใน “การยศาสตร์
ของการเลือกตั้ง” (electoral ergonomics) ที่หมายถึงการออกแบบการจัดการการเลือกตั้งที่คำาถึงถึงการรับรู้
และอารมณ์ความรู้สึกของผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง (Bruter and Harrison, 2017)
ตัวอย่างสำาคัญของการลงคะแนนเสียงตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ในปรากฏการณ์
ทางการเมืองระดับโลกก็คือ การลงคะแนนประชามติในประเทศอังกฤษที่ออกจากการร่วมประชาคมยุโรป (Brexit)
เมื่อปี ค.ศ. 2016 และชัยชนะของโดนัล ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งทั้งสองครั้งนี้
ผลการเลือกตั้งนั้นไม่ตรงกับคำาทำานายของการหยั่งเสียง (โพล) และพบว่าการตัดสินใจลงคะแนนอาจพลิกผัน
ไปในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนการเลือกตั้ง ในความหมายที่ว่าความตั้งใจที่จะลงคะแนนของผู้เลือกตั้งนั้นอาจจะไม่ใช่
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในห้วงขณะของการเลือกตั้งในวันจริง (เพิ่่งอ้าง)
อิทธิพลของอารมณ์ที่มีต่อการเลือกตั้งอาจจะมีได้ทั้งในแบบบวกหรือลบ ในเชิงบวกนั้น ความรู้สึก
เป็นชุมชนเดียวกันและรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่ออนาคตอาจจะนำาไปสู่การสร้างความชอบธรรมให้กับระบบ
การเมืองการยอมรับผลของการตัดสินใจทางการเมือง และการเคารพผู้อื่น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความรู้สึกทางอารมณ์
ที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังต่ออีกฝ่ายหนึ่งอาจจะเป็นเงื่อนไขสำาคัญในการลงคะแนนเสียง รวมทั้งไม่พอใจ
กับผู้ที่ลงคะแนนเห็นต่างไปจากตน และอาจมีผลต่อความแตกแยกทางสังคมในระยะยาว (เพิ่งอ้าง)
นอกจากนี้แล้วการจัดเลือกตั้งอาจมีผลต่อการลงคะแนนได้ เช่นการศึกษาพบว่า การจัดหน่วยเลือกตั้งในโบสถ์
อาจมีผลต่อการลงคะแนนเสียงที่โน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยม ส่วนการเลือกที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า
ที่หน่วยเลือกตั้งที่กำาหนดเองมีผลต่อความรู้สึกสนใจและเชื่อมโยงตัวเองกับสังคมมากกว่าการลงคะแนนเสียง
ทางไปรษณีย์ รวมทั้งการที่คนรุ่นใหม่ลงคะแนนเสียงออนไลน์มีผลต่อระดับความพึงใจที่ตำ่าและความเต็มใจ
ที่ตำ่าในการที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งต่อไป (เพิ่งอ้าง)
4. การลงคะแนนเสียงเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Voting) เป็นพฤติกรรมที่ผู้ลงคะแนนเสียงนั้น
ไม่ได้ลงคะแนนเสียงด้วยความต้องการที่แท้จริง หรือตัวเลือกที่ต้องการที่สุด (most preferred option
หรือ sincere vote) แต่การลงคะแนนนั้นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องทั้งการตัดสินใจ และการคาดเดาผลลัพธ์