Page 45 - kpiebook63010
P. 45

44       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร






             2.1.2  ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรเลือกตั้งกับระบอบกำรเมือง



                      การเลือกตั้งนั้นไม่ได้มีเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ดังที่มีการพูดกันเสมอว่า การเลือกตั้ง
             ไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย ในประเด็นนี้อาจจะต้องแยกออกมาเป็นสองเรื่อง


                      หนึ่ง การเลือกตั้งโดยตัวของมันเองไม่สามารถเป็นเงื่อนไขชี้ขาดถึงคุณภาพของประชาธิปไตยได้
             งานวิจัยในปัจจุบันจึงให้ความสนใจกับการศึกษาคุณภาพของประชาธิปไตย โดยส่วนหนึ่งที่สำาคัญคือการศึกษา

             วิจัย และประเมินคุณภาพของการเมืองผ่านการศึกษาคุณภาพและลักษณะของการเลือกตั้ง


                      สอง การเลือกตั้งอาจเป็นส่วนสำาคัญของการครองอำานาจของเผด็จการ (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2561ค)

             โดยในประเด็นนี้มีข้อควรพิจารณาอยู่สองรูปแบบใหญ่ ๆ หรืออาจเรียกว่าการเลือกตั้งนั้นมีส่วนสำาคัญในระบอบ
             การเมืองแบบผสม (mixed regime หรือ hybrid regime) ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ทั้งสองลักษณะได้แก่


                      1.    “เมื่อเผด็จการนั้นแปลงร่างเข้าสู่ประชาธิปไตย” กล่าวคือ เมื่อระบอบเผด็จการไม่ได้ก้าวลงหรือ
                            ถอยจากอำานาจในแบบของการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยตามที่เคยมีการศึกษากันไว้ในอดีต

                            แต่เผด็จการกลับมุ่งสืบทอดอำานาจของตัวเองโดยกลาย “กลายร่าง” เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
                            อาทิการสร้างพรรคใหม่ในแบบพรรคสืบสานอำานาจเผด็จการเพื่อลงสู้ศึกในเกมส์การเลือกตั้ง


                      2.    “เมื่อประชาธิปไตยแปลงร่างเข้าสู่เผด็จการ” กล่าวคือ เมื่อระบอบประชาธิปไตยนั้น
                            เริ่มกลายร่างไปเป็นเผด็จการ อาทิ การใช้กลไกเลือกตั้งในการได้มาซึ่งอำานาจ ความนิยม

                            และความชอบธรรม จากนั้นก็เริ่มใช้อำานาจที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งในการทำาลาย
                            สถาบันหลักต่าง ๆ ที่มีส่วนคำ้ายันและเสริมคุณภาพของประชาธิปไตย อาทิ สิทธิเสรีภาพ

                            ของประชาชนความเป็นอิสระของสถาบันตุลาการ ความเป็นอิสระและเสรีภาพสื่อ
                            และ การปกครองโดยหลักกฎหมาย

                      ดังนั้น การเลือกตั้งจึงมีได้ทั้งในระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ และ ระบอบผสม (hybrid)







             2.1.3  ระบบกำรเลือกตั้ง


                      ความสัมพันธ์ในเรื่องของการเลือกตั้งกับการเมืองนั้น ยังสามารถศึกษาได้จากการศึกษาระบบ

             การเลือกตั้ง (electoral system) โดยระบบการเลือกตั้งในที่นี้หมายถึง วิธีที่ใช้ในการคำานวณจำานวนตำาแหน่ง
             หรือเก้าอี้ของรัฐบาลซึ่งผู้สมัครเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครฯจะได้รับจากการเลือกตั้ง ความสัมพันธ์
             ของระบบเลือกตั้งกับการเมืองทำาให้เราเข้าใจผลของการเลือกตั้งและผล/นัยยะของผลการเลือกตั้งที่มีต่อการเมือง

             โดยการศึกษาว่า ระบบการเลือกตั้งแบบไหนนั้นจะมีผลต่อการเมืองอย่างไร
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50