Page 46 - kpiebook63010
P. 46
45
ตัวอย่างระบบการเลือกตั้งในโลกนั้นมักจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ สามประเภทคือ
1. Plurality Electoral Systems หรือระบบเสียงข้างมากรอบเดียว ผู้ชนะในเขตนั้นสามารถ
ได้ตำาแหน่งเลย แม้ว่าจะชนะด้วยคะแนนเพียงคะแนนเดียว
2. Majority Electoral Systems หรือ ระบบเสียงข้างมากสองรอบ ผู้ชนะจะต้องได้คะแนนเสียง
เกินครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการมีระบบเลือกตั้งสองรอบ
3. Proportional Representation หรือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ซึ่งรวมไปถึงระบบ
การมีบัญชีรายชื่อให้ประชาชนเลือกทั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งของตนเอง และมีคะแนน
อีกส่วนหนึ่งไว้เลือกผู้สมัครในนามของพรรค ซึ่งประชาชนอาจจะมีสิทธิเลือกในรายชื่อนั้น
หรือพรรคจัดทำารายชื่อให้เพียงแค่เลือกพรรคเท่านั้น การเลือกตั้งแบบสัดส่วนอาจจะมี
รายละเอียดหรือประเภทย่อย ๆ ที่แตกต่างกันออกไป
เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเลือกตั้งกับการเมืองนั้น ทำาให้เราเห็นว่า ระบบการเลือกตั้ง
นั้นมีผลต่อผลการเลือกตั้งและการเมือง อีกทั้งระบบการเลือกตั้งนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงและออกแบบใหม่ได้
ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งในแบบเสียงข้างมากทั่วไป อาจทำาให้เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคที่ไม่ชนะในเขต
นั้นไม่ถูกนับเลย การเลือกตั้งที่เน้นเสียงข้างมากเกินครึ่งอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะประชาชน
มีแค่สองตัวเลือก หรือ อาจจะก่อให้เกิดการประนีประนอม เพราะแม้ว่าในรอบแรกประชาชนอาจจะเลือกผู้สมัคร
ที่ตนพอใจ แต่ในรอบสองนั้น เมื่อจำาต้องเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งที่ผ่านรอบแรกมาได้ ตัวผู้สมัครเองอาจจะต้อง
เปิดกว้างในเรื่องของนโยบายที่จะโอบล้อมความต้องการของประชาชนที่หลากหลายขึ้น
เราสามารถแบ่งตัวแปรในระบบการเลือกตั้งที่มีผลต่อการเมืองได้อย่างน้อยสามประการ คือ
สูตรการคำานวนการเลือกตั้ง (electoral formula) ขนาดของเขต/พื้นที่การเลือกตั้ง (district magnitude) และ
โครงสร้างของบัตรเลือกตั้งและการลงคะแนน (ballot structure) (Farrell, 1997)
นอกจากนี้แล้ว ระบบเลือกตั้งยังมีผลต่อระบบพรรคการเมือง (party system) ด้วย อาทิ ระบบเลือกตั้ง
แบบที่ไม่ใช่ระบบสัดส่วน คือนับคะแนนรอบเดียวและผู้ชนะได้ทั้งหมดในเขตจะส่งเสริมระบบสองพรรค (two-
party system) ขณะที่ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นจะส่งเสริมระบบพรรคหลายพรรค (multi-party system)
หรือก็มีข้อถกเถียงเช่นกันว่า ระบบหลายพรรคอาจจะมาก่อนจะมีระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนด้วยซำ้า (เพิ่งอ้าง)
นอกจากนี้แล้วระบบเลือกตั้งยังมีผลต่อพฤติกรรมเลือกตั้ง (voting behavior) อาทิ
ระบบเลือกตั้งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก พรรคหรือการเลือกตัวบุคคล หรืออาจจะส่งผลต่อการเลือกตั้ง
เชิงยุทธศาสตร์ (tactical voting or strategic voting) เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงนั้นไม่สามารถเลือกผู้สมัคร
หรือพรรคที่ตนต้องการที่สุดเนื่องจากถูกจำากัดโดยโครงสร้างของระบบการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในแง่ของ
โครงสร้าง/ระบบของบัตรเลือกตั้งและการลงคะแนน (เพิ่งอ้าง)