Page 49 - kpiebook63010
P. 49

48       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             ทั้งนี้ ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งจะต้องชั่งนำ้าหนักหรือคาดคะเนประโยชน์ที่ได้จากการลงคะแนนในเรื่องนั้น ๆ ท่ามกลาง

             ตัวเลือกที่มีอยู่ ดังนั้น การเลือกตั้งในเชิงยุทธศาสตร์จึงเป็นการเลือกตั้งที่ผู้ลงคะแนนตัดสินใจบนฐานที่มีทั้ง
             เรื่องการทำาให้คะแนนเสียงของตนนั้นมีอรรถประโยชน์สูงสุด และได้ผลลัพธ์เป็นที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า

             ผู้ลงคะแนนอาจไม่ได้ลงคะแนนด้วยตัวเลือกที่ตนต้องการที่สุด แต่ต้องตัดสินในใจไปในทิศทางที่จะเป็นไปได้
             มากที่สุดและให้ประโยชน์สูงสุด หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ การเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์นั้นผู้ลงคะแนนจะต้องคำานึงถึง

             ความต้องการและการคาดหวังผลที่ได้ (Gschwend and Meffert, 2017) หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า การลงคะแนน
             ในแบบยุทธศาสตร์นั้น ผู้ลงคะแนนอาจไม่ได้ลงให้กับผู้สมัครหรือพรรคที่ตนเห็นด้วยมากที่สุด แต่อาจจำาต้อง

             ลงคะแนนเพื่อให้ฝ่ายที่ตนไม่ชอบนั้นไม่ชนะ เพราะอาจรู้สึกว่าคะแนนของตนนั้นอาจจะไร้ค่าถ้าโหวตให้กับ
             พรรคเล็กที่เป็นตัวเลือกที่แท้จริง ซึ่งส่วนหนึ่งของสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้เกิดการเลือกตั้งเชิงยุทธศาสตร์นั้น

             อาจจะมาจากระบบการเลือกตั้ง อาทิ ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว ก็อาจมีผลทำาให้
             คะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคเล็ก ๆ ไม่ถูกนับ (Duverger, 1954)


                      อนึ่ง แบบแผนที่นำาเสนอมาทั้งหมดทั้งสี่แบบนี้ไม่ได้หมายความว่า เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงนั้นตัดสินใจ

             ละคะแนนเสียงจะใช้เพียงหนึ่งแนวทางเท่านั้นในการลงคะแนนเสียง พวกเขาอาจจะเลือกใช้การลงคะแนนเสียง
             มากกว่าหนึ่งแนวทางผสมกันก็อาจจะเป็นได้






             2.1.6  กำรเลือกตั้งกับรอยแยกทำงสังคม (Social Cleavage)



                      แนวคิดเรื่องการเมืองในมิติรอยแยกทางสังคม (Cleavage Politics) มีความแตกต่างกับการเข้าใจ
             พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงในสี่แบบแรก กล่าวคือตัวแบบการตัดสินใจลงคะแนนเสียงในสี่แบบที่ได้กล่าวถึง

             ไปในหัวข้อที่แล้วนั้นมีหน่วยการวิเคราะห์และข้อสมมุติฐานที่สำาคัญว่า การตัดสินใจลงคะแนนเสียงนั้น
             เป็นเรื่องของการตัดสินใจในระดับปัจเจกบุคคล แต่การเลือกตั้งในมิติของรอยแยกทางสังคมมีข้อสมมุติฐานว่า

             ภูมิหลังทางสังคม(เศรษฐกิจ) นั้นมีผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะมีผลต่อการลงคะแนนเสียง อาทิ
             ชนชั้น ชาติพันธุ์ ศาสนาและภูมิภาค


                      การเมืองในมิติรอยแยกทางสังคมหมายถึงการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างประชาชนโดยมีรากเหง้า

             มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ดำารงอยู่ และการเมืองแบบนี้เป็นเรื่องของการเมืองของการแบ่งขั้ว (Fabbrini, 2001)
             ดังเช่นตัวแบบคลาส.ส.ิคที่มองว่าการเมืองในยุโรปนั้นเป็นผลมาจากโครงสร้างทางสังคมที่เป็นผลมาจากพัฒนาการ

             ทางประวัติศาสตร์ที่สำาคัญได้แก่ การปฏิวัติประชาชาติรวมถึงการเกิดรัฐสมัยใหม่ (national revolution) และ
             การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือกำาเนิดระบบทุนนิยมในยุโรป กำาเนิดรัฐประชาชาติสมัยใหม่นั้นทำาให้เกิดการแบ่งแยก

             ในระดับโครงสร้างสองประการได้แก่ รอยแยกระหว่างส่วนกลางและพื้นที่ชายขอบหรือท้องถิ่นที่ต้องการอิสระ
             และ พวกที่ต้องการพ้นจากอิทธิพลของศาสนจักร และ พวกศาสนจักร ขณะที่กำาเนิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น

             ทำาให้เกิดรอยแยกในระดับโครงสร้างสองประการได้แก่ รอยแยกระหว่างเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54