Page 51 - kpiebook63010
P. 51
50 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
3. ผลกระทบจากปัจจัยในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (the effects of short term factors) อาทิ
การประเมินว่าเศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ภาพลักษณ์ของตัวผู้นำา
4. การรณรงค์การเลือกตั้ง โดยเฉพาะบรรดา “ตัวกลาง” ที่ทำาหน้าที่เกี่ยวกับการรณรงค์ต่าง ๆ
(campaign intermediation) (Gunther et al., 2016)
นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาในเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง ยังมีเรื่องของ
“อุปสงค์และอุปทาน” (demand-supply) ของตลาดเลือกตั้ง (electoral market) หรือมองว่า การเลือกตั้งนั้น
เปรียบเสมือนตลาดที่เป็นที่ ๆ ที่ความต้องการของการเลือกตั้งนั้นจะต้องมาเจอกับสิ่งที่ถูกเสนอเข้ามาในตลาดนั้น
ในแง่นี้ อิทธิพลของความมีใจโน้มเอียงที่มีมาก่อนหน้านั้นอย่างยาวนานของผู้ลงคะแนน ไม่ว่าจะเรื่องของ
การระบุตัวตนว่าเลือกพรรคไหน (party identification) รวมทั้งความโน้มเอียงทางอุดมการณ์ซ้ายขวา จะมีผลต่อ
การลงคะแนนเสียงมากที่สุด ในด้านของอุปสงค์ต่อตลาดเลือกตั้ง ขณะที่ ในด้านอุปทานต่อตลาดเลือกตั้งนั้นหมายถึง
“การนำาเสนอสิ่งที่นำาเสนอโดยผู้สมัครเลือกตั้งและพรรคการเมือง” (political offerings) ก็ถือเป็นปัจจัยด้าน
อุปทานที่มีความสำาคัญที่สุดในการคาดคำานวณเมื่อผู้ลงคะแนนตัดสินใจเลือก ซึ่งในแง่นี้การนำาเสนอจากผู้สมัคร
และพรรคนั้นยังต้องพึ่งพาการสื่อสารทางการเมืองเพื่อให้พวกเขานั้นมีตำาแหน่งแห่งที่ตรงกับความต้องการ
และความโน้มเอียงของกลุ่มเป้าหมายที่พรรคและผู้สมัครต้องการเข้าถึง (Moreno et al., 2016)
2.1.8 กำรทุจริตเลือกตั้ง
2.1.8.1 ควำมหมำยและควำมส�ำคัญของกำรทุจริตเลือกตั้ง
การทุจริตการเลือกตั้ง (election fraud) หมายถึงความพยายามทั้งหลายโดยลับ ๆ และผิดกฎหมายใน
การที่จะทำาให้ผลการเลือกตั้งเป็นไปในแบบที่ต้องการ (Lehoucq, 2003) ทั้งนี้ ความหมายของการกระทำาลับนั้น
อาจจะไม่ได้หมายถึงไม่มีใครทราบ อาทิ การไปบังคับให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง หรือมีการไป
ลงคะแนนแทน แต่การกระทำาลับในที่นี้หมายถึงการที่เหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการทุจริตดังกล่าวนั้น
เท่านั้นที่ต้องการเปิดเผยเรื่องนี้ออกมา ไม่ใช่ผู้ที่ทำาการทุจริต (เพิ่งอ้าง)
การทุจริตเลือกตั้งมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การแทรกแซงและละเมิดกระบวนการเลือกตั้ง
อย่างมีขั้นมีตอนไปจนถึงใช้ความรุนแรงกับผู้ลงคะแนนเสียง งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าแม้ว่าการทุจริตเลือกตั้งนั้น
จะมีส่วนสำาคัญในการแข่งขันเลือกตั้ง แต่ผลของการทุจริตเลือกตั้งอาจจะไม่ได้ส่งผลให้เกิดชัยชนะในการเลือกตั้ง
เสมอไป (และนี่คือประเด็นที่กลายเป็นเรื่องในหลายประเทศที่การรับรองผลเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ เพราะว่าผู้รับรองผล
อ้างว่าแม้จะมีการทุจริตก็อาจไม่มีผลโดยตรงต่อผลการเลือกตั้ง) ที่สำาคัญการทุจริตการเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับจังหวะ
และธรรมชาติของการแข่งขันในการเลือกตั้งในครั้งนั้น ๆ อาทิการทุจริตการเลือกตั้งอาจจะมีผลต่อผลการเลือกตั้ง
เมื่อการเลือกตั้งนั้นเป็นการแข่งขันที่สูสี นอกจากนี้ การจัดวางสถาบันทางการเมือง(รวมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์
การเลือกตั้ง) อาจจะมีผลต่อการวางยุทธศาสตร์การทุจริตการเลือกตั้งของแต่ละฝ่าย (เพิ่งอ้าง)