Page 53 - kpiebook63010
P. 53

52       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร





             ผู้อุปถัมภ์อาจจะไม่ได้เข้าไปเป็นผู้ถืออำานาจรัฐ แต่ก็สามารถหยิบยื่นการอุปถัมภ์ให้ได้ เพราะการเกิดระบบอุปถัมภ์

             เกิดขึ้นมาโดยตลอด ไม่ได้เกิดเฉพาะเมื่อผู้อุปถัมภ์นั้นเข้าสู่อำานาจรัฐแล้ว (เพิ่งอ้าง) โดยระบบอุปถัมภ์
             ทางการเมืองนั้นนอกจากจะพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์ในระดับท้องถิ่นกับ

             ผู้ลงคะแนนเสียงแล้ว ยังสามารถพิจารณาในระดับพรรคที่ปฏิบัติการในระดับชาติได้ด้วย รวมทั้งยังสามารถ
             พิจารณาระบบเผด็จการที่อาศัยการเลือกตั้งในการอยู่ในอำานาจต่อไปก็ได้


                      ความแตกต่างระหว่างระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองในการเลือกตั้ง กับการเมืองเรื่องการกระจายฯ

             ในแบบอื่นก็คือ การเมืองแบบเน้นพื้นที่แบบไม่เท่าเทียม (pork barrel politics) ตรงที่ระบบเน้นพื้นที่
             ไม่เท่าเทียมนั้น นักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจะเอางบประมาณที่ได้จากภาษีของคนทั้งประเทศมาลงในพื้นที่

             ของตัวเองเป็นหลัก เพื่อให้ได้ประโยชน์มุ่งเน้นในพื้นที่นั้นมากกว่าพื้นที่อื่น ขณะที่การเมืองแบบกระจายด้วย
             โครงการ (programmatic redistribution) นั้นจะเป็นการเมืองแบบที่พรรคที่เป็นรัฐบาลนั้นจะเน้นการสร้าง

             โครงการที่เน้นช่วยคนบางชนชั้นเป็นพิเศษ โดยการกระจายในแบบนี้นั้นจะเป็นการกระจายความมั่งคั่งไปให้
             กลุ่มคนหนึ่งที่จะได้ประโยชน์ โดยเอามาจากคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เสียประโยชน์เพราะไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย

             ดังกล่าว ขณะที่การเมืองของการกระจายความมั่งคั่งแบบระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองนั้น เน้นไปที่เรื่องของการที่
             ผู้รับการอุปถัมภ์นั้นจะต้องให้การสนับสนุนทางการเมืองกับผู้อุปถัมภ์ (เพิ่งอ้าง) ซึ่งในแง่นี้ระบบอุปถัมภ์

             ทางการเมืองโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งอาจไม่จำาเป็นจะต้องเป็นระบบอุปถัมภ์เต็มพื้นที่หรือเฉพาะเจาะจง
             ไปที่ชนชั้นหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะได้ในพื้นเฉพาะที่เห็นผล


                      อีกมิติที่สำาคัญในเรื่องของระบบอุปถัมภ์กับการเมืองก็คือระบบอุปถัมภ์นั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์

             ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้ใต้อุปถัมภ์ (patron-client relationships) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย
             ที่เป็นพันธมิตรกัน แต่เป็นพันธมิตรกันในแบบไม่เท่าเทียมแบบแนวดิ่ง คือมีความเหนือกว่าและอยู่ภายใต้

             และเป็นความสัมพันธ์ที่จะต้องพบปะกันแบบใกล้ชิด (face-to-face) มีมิตรภาพซึ่งกันและกันโดยต่างฝ่ายต่างใช้
             ความสัมพันธ์นี้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งกันและกัน โดยฝ่ายผู้อุปถัมภ์ซึ่งมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เหนือกว่า

             จะใช้อิทธิพลและทรัพยากรในการให้ความคุ้มครองและผลประโยชน์ต่อผู้ใต้อุปถัมภ์ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ
             และสังคมที่ด้อยกว่า และผู้ใต้อุปถัมภ์จะตอบแทนด้วยการแลกเปลี่ยนผ่านการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ

             แก่ผู้อุปถัมภ์ (Scott, 1972) และด้วยการตั้งคำาถามกับลักษณะเฉพาะของระบบอุปถัมภ์เช่นนี้สิ่งที่ Stokes
             (2011) ตั้งคำาถามก็คือ ระบบอุปถัมน์นั้นมักจะเกี่ยวพันกับสังคมที่มีความยากจนแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง และ

             มีกลไกที่อ่อนแอและไม่มีประสิทธิภาพ (Stokes, 2011)


                      การพิจารณาเรื่องระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองจึงควรพิจารณาทั้งมิติทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
             (คือมีมานานแล้วในสังคม) กับมิติของการให้เหตุผลผ่านข้อจำากัดทางการเมืองเศรษฐกิจ อาทิ การศึกษาตรรกะ

             ของผู้อุปถัมภ์ทั้งระดับผู้สมัคร และ พรรค รวมทั้งพรรคที่ถืออำานาจรัฐในการตัดสินใจใช้กลไกอุปถัมภ์ทางการเมือง
             ในการแสวงหาคะแนนหรือการสนับสนุนการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่แค่อิงระบบท้องถิ่นหรืออิงการเมือง

             ของการกระจายด้วยโครงการ แต่เป็นเพียงการเมืองของการกระจายในเชิงยุทธวิธี (tactical redistribution)
             โดยเน้นเพียงกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มที่ต้องการการสนับสนุนเท่านั้น (Dixit and Londregan, 1996 อ้างใน Stokes,

             2011) ในขณะที่ในการศึกษาจากมุมมองของผู้ใต้อุปถัมภ์นั้นจะพบว่า เราจำาต้องพิจารณาว่าผู้ใต้อุปถัมภ์นั้น
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58