Page 57 - kpiebook63010
P. 57

56       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      ความท้าทายในการสร้างสรรค์ให้การเลือกตั้งมีความหมายต่อประชาชน และมีความหมายต่อคุณภาพ

             และความยั่งยืนของประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ยากหากเราเผชิญหน้ากับความจริงสำาคัญสองประการ


                      1.    เมื่อประชาชนรู้สึกว่ากฎกติกาหลาย ๆ อย่างในการกำากับดูแลการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม เอนเอียง
                            ไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือมันมีเป้าประสงค์ที่จะจัดการกลุ่มการเมืองบางกลุ่มเป็นพิเศษ ประเด็นนี้

                            จะลึกซึ้งกว่าเรื่องความเป็นธรรมของการเลือกตั้งที่ได้กล่าวไปแล้วตรงที่ว่า เมื่อประชาชนรู้สึกว่า
                            กฎระเบียบและกติกาของการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม เขาอาจไม่อยากมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

                            หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นเป็นไปในแบบที่ไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน
                            หรืออาจนำาไปสู่ความรู้สึกที่ว่าไม่มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว

                      2.    เมื่อประชาชนรู้ว่าข้อเสนอต่าง ๆ ของนักการเมืองที่เสนอตัวเข้ามาเลือกตั้งนั้นเป็นข้อเสนอ

                            ที่สร้างประโยชน์แต่กับตัวนักการเมือง และกลุ่มที่สนับสนุน แต่ไม่ใช่ข้อเสนอของประชาชน
                            และสังคมทั้งหมด หรือมองว่านักการเมืองทุกกลุ่มนั้นก็มีข้อเสนอคล้าย ๆ กัน เลือกไปก็เท่านั้น



                      ภาระการทำาให้การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่มีความหมายและจรรโลงประชาธิปไตยจึงไม่ใช่เรื่อง

             แค่การเรียกร้องและจับตาว่าจะมีใครโกง หรือจะมีใครได้เปรียบจากระบบเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังต้องรวมไปถึง
             เรื่องของการติดตาม ตั้งคำาถามกับข้อเสนอต่าง ๆ ของนักการเมือง หรือบรรดากลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมือง

             รวมทั้งกลุ่มคนที่อ้างว่าอยู่นอกการเมืองแต่มีบทบาททางการเมืองด้วย


                      การทำาให้การเลือกตั้ง “มีความหมาย” ด้วยเหตุผลที่อธิบายมาข้างต้น จึงต้องสร้างการเปิดกว้างให้
             ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และการจัดการเลือกตั้งโดยไม่ถูกผูกขาดอยู่กับองค์กรอิสระ

             หรือหน่วยงานรัฐที่อ้างว่าหวังดีและทำาเพื่อประชาชน แต่บรรดาประชาสังคม สื่อมวลชน และประชาชนต่าง ๆ
             จะต้องสามารถสร้างสรรค์การเข้าร่วมทางการเมืองได้มากกว่าการเข้าคูหาและการเป็นสมาชิกพรรค หรือ

             ลงสมัครรับเลือกตั้ง (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2561ก)



                     2.1.8.5 กำรเลือกตั้งที่ซื่อตรง


                      การเลือกตั้งที่ซื่อตรง หรือ ความสุจริตขั้นสูงและสมบูรณ์แบบของการเลือกตั้ง (Electoral Integrity)
             ได้รับการริเริ่มจากโครงการ Electoral Integrity Project (EIP) โดยมองว่า ความสุจริตขั้นสูงและสมบูรณ์แบบ

             ของการเลือกตั้ง (หรือความซื่อตรงของการเลือกตั้ง) หมายถึงความถูกต้องของการเลือกตั้งที่มากกว่าความถูกต้อง
             ตามกฎระเบียบที่มี เพราะกฎระเบียบที่มีอาจไม่ตรงไปตรงมา ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกิด

             ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ คำาว่า integrity  ยังมีความหมายถึงความสมบูรณ์แบบ
             ของส่วนต่าง ๆ ที่ประสานสอดคล้องกันเป็นเอกภาพ เป็นทั้งความดีงามและสง่างามของสิ่งนั้น


                       โครงการ EIP เป็นการศึกษาในระดับโลกโดยเปรียบเทียบกันในแต่ละกรณีของแต่ละประเทศ

             และยังเป็นการสร้างและแสวงหาความรู้ที่ส่งผลถึงการปฏิบัติและรณรงค์เรื่องของการเลือกตั้ง ความเข้าใจ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62