Page 59 - kpiebook63010
P. 59
58 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ในกระบวนการเหล่านี้จะเห็นได้ว่า การทุจริตการเลือกตั้ง หรือแม้กระทั่งความไม่ชอบมาพากล
(irregularities) ของการเลือกตั้งนั้นเกิดขึ้นได้ในหลายระดับ และเกี่ยวเนื่องกับผู้มีบทบาทในการเลือกตั้ง
หลายกลุ่ม ไม่ใช่มีแต่ประชาชนกับนักการเมืองเท่านั้น
นอกจากนี้ การพูดถึงความซื่อตรงของการเลือกตั้งยังมีความหมายที่กว้างกว่ากระบวนการทางกฎหมาย
ที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้ง ที่มักวนเวียนกับการตีความด้วยองค์กรยุติธรรมที่ยึดอิงกับตัวบทกฎหมายเป็นหลัก
และหน่วยงานที่อ้างอิงว่าตัวเองนั้นมีสิทธิในการใช้อำานาจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งบ่อยครั้ง
หากบริบททางสังคมนั้นไม่ได้เป็นบริบทแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในบริบทที่สิทธิเสรีภาพไม่ได้มีอย่างสมบูรณ์
โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งในบริบทที่ไม่ได้อยู่ในสังคมประชาธิปไตย
ความน่าเชื่อถือของกระบวนการทางกฎหมายที่มักถูกตีความในกรอบที่คับแคบนั้นก็จะมีผลที่ให้ความซื่อตรง
ของการเลือกตั้งครั้งนั้น ๆ จะถูกตั้งคำาถามและส่งผลในระยะยาวต่อความชอบธรรม (legitimacy) ของระบบ
การเมืองหลังการเลือกตั้ง และความชอบธรรมของระบอบการเมืองหลังการเลือกตั้ง
การทุจริตการเลือกตั้ง (electoral malpractices) ที่มักพิจารณากันว่าเป็นเรื่องของการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น
ในมุมมองของความซื่อตรงของการเลือกตั้งนั้นยังรวมไปถึงปัญหาและความไม่ชอบมาพากลของการจัดการเลือกตั้ง
(electoral maladministration) ด้วย ซึ่งรวมไปตั้งแต่เรื่องความผิดพลาดที่เกิดเป็นประจำา และความผิดพลาด
ที่ไม่ได้ตั้งใจของการบริหารจัดการเลือกตั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเปิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความล้มเหลว
ในการบริหารจัดการ ความไร้ประสิทธิภาพ ความอ่อนแอขาดสมรรถภาพของรัฐในการจัดการ ที่ในหลายกรณี
อาจจะต้องถูกมองได้ว่า รัฐอาจไม่ได้ล้มเหลวในการจัดการการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งที่ล้มเหลวนั้นสะท้อน
ความเข้มแข็ง และทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการจัดการเลือกตั้งของสถาบันทางการเมืองในระบอบการเมือง
ที่ยังไม่ใช่ประชาธิปไตย หรือเป็นประชาธิปไตยที่ไร้คุณภาพ
นอกเหนือจากการคาดการณ์ว่าหากประชาชนนั้นเข้าใจว่าการเลือกตั้งนั้นไม่ซื่อตรงแล้วพวกเขาจะมี
ปฏิกิริยาอย่างไรแล้ว รัฐบาลและชนชั้นนำาทางอำานาจอาจจะมีปฏิกิริยาต่อความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อ
การเลือกตั้งที่ไม่ซื่อตรงได้หลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและตัวแปรหลายประการ อาทิ ช่วงเวลา ลักษณะ
ของระบอบการเมืองที่อยู่ในอำานาจในช่วงนั้น โครงสร้างทางโอกาสของการระดมการเคลื่อนไหวของผู้ที่ไม่พอใจ
ความสูสีของผลคะแนนทั้งสองฝ่าย การสร้างสมดุลทางอำานาจในหมู่ชนชั้นนำากับพรรคการเมือง และความลึก
และยาวนานของบาดแผลและความรู้สึกของผู้คนต่อความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น และอาจจะรวมไปถึง
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในแบบที่จะลามไปถึงรัฐเพื่อนบ้าน
กรณีแรก ระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่ (โดยเฉพาะชนชั้นนำาในอำานาจ) อาจจะเลือกที่จะไม่สร้าง
ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ แต่เน้นการสร้างความสมดุลทางอำานาจให้เกิดขึ้น โดยเปิดให้สังคมถกเถียง และให้มี
การพยายามแก้ไขด้วยแนวทางสันติ หรือแนวทางตามรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เมื่อรัฐไม่ได้ปิดบังอะไรไว้มาก
การเคลื่อนไหวต่าง ๆ จากคนที่ไม่พอใจก็อาจอยู่ไม่ได้ในระยะยาว แต่การสร้างสมดุลทางอำานาจนี้มักจะเกิด
ในระบอบการเมืองที่ประชาธิปไตยตั้งมั่นแล้ว คือไม่มีการหันไปหาอำานาจนอกกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง