Page 58 - kpiebook63010
P. 58

57








                  การเลือกตั้ง และการจับตา-ตรวจสอบการเลือกตั้ง ทั่วโลก โดยพยายามหาหลักการในเรื่องความซื่อตรง

                  ของการเลือกตั้งให้มีความชัดเจน นำาไปปฏิบัติและประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นว่าความซื่อตรงของการเลือกตั้งนั้น
                  เกิดขึ้นแค่ไหน และถูกละเมิดไปแค่ไหน


                          ส่วนสำาคัญของความสุจริตขั้นสูงและความสมบูรณ์แบบของการเลือกตั้งนั้นยังยึดโยงกับมาตรฐาน

                  และธรรมเนียมปฏิบัติ (standard and norms) ของการเลือกตั้งทั่วโลก และหลักปฏิบัติเรื่องการเลือกตั้งนี้
                  ก็วิวัฒนาการมาจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR - UN International

                  Covenant for Civil and Political Rights 1966) ซึ่งประเทศไทยเองได้ลงนามให้สัตยาบันกับสหประชาชาติ
                  มานานแล้ว สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนี้รวมเอาเรื่องของสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพ

                  ในการพูดและเขียน เสรีภาพในการชุมนุม สิทธิในการเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความ
                  อย่างยุติธรรมเอาไว้ด้วย


                          การเลือกตั้งถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งสิทธิพลเมืองและ
                  สิทธิทางการเมืองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน ที่รองรับโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                  (Universal Declaration of Human Rights)


                          ในรายละเอียดของ ICCPR นั้นได้ระบุถึงส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งไว้หลายส่วน ได้แก่ การจำาต้อง

                  มีการเลือกตั้งที่สมำ่าเสมอ การเลือกตั้งที่สิทธิเลือกตั้งเปิดกว้างให้กับทุกภาคส่วน การเลือกตั้งที่เสียงทุกคน
                  เท่ากัน สิทธิที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิที่จะได้ลงคะแนนเสียง กระบวนการปิดลับของการลงคะแนนเสียง
                  และการเลือกตั้งที่สะท้อนความมีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเจตจำานงของประชาชน


                          ส่วนหนึ่งที่สำาคัญของการศึกษาและสังเกตการณ์ของการเลือกตั้งเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของ “วงจร

                  การเลือกตั้ง” (The Electoral Cycle) ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนหลักที่หมุนโยงเชื่อมกัน โดย (อาจ) เริ่มต้นที่

                          1.    กฎหมายการเลือกตั้ง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างกฎหมายตัวอื่น ๆ อาทิ รัฐธรรมนูญ

                          2.    กระบวนการเลือกตั้ง
                          3.    การออกแบบเขตเลือกตั้ง

                          4.    การลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการยืนยันสิทธิเลือกตั้ง

                          5.    การลงทะเบียนพรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                          6.    การรณรงค์หาเสียงในสื่อต่าง ๆ

                          7.    การจัดการด้านการเงินต่าง ๆ ของพรรคและผู้สมัคร

                          8.    กระบวนการลงคะแนนเสียง
                          9.    การนับคะแนน

                          10.  ผลการเลือกตั้ง

                          11.     บทบาทของผู้จัดและควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างเสรี เป็นธรรม
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63