Page 60 - kpiebook63010
P. 60

59








                  ต่างฝ่ายต่างใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่เคารพหลักการประชาธิปไตยมาตั้งแต่แรกด้วย

                  กล่าวคือเปิดให้มีการสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ และเอาผิดในเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น และแก้ไข
                  กันไปตามนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ก็จะไม่เกิดขึ้น


                          กรณีที่สอง การปฏิรูประบบเลือกตั้ง กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ประชาธิปไตยตั้งมั่น แต่ฝ่ายที่

                  ไม่พอใจกับการเลือกตั้งที่ทุจริตสามารถระดมความไม่พอใจของผู้คนให้แสดงออกมาอย่างเป็นกลุ่มก้อนได้
                  และตัวเร่งสำาคัญก็คือความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของชนชั้นนำาทางอำานาจ


                          กรณีที่สาม การยินยอมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น กรณีนี้คือเรื่องของการที่ระบอบ
                  การเมืองนั้นเป็นเผด็จการ หรือไม่ได้เป็นประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น หรือไม่เป็นประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ แต่เมื่อเกิด

                  แรงกดดันทางสังคมที่ไม่พอใจ และเคลือบแคลงสงสัยต่อความสุจริตขั้นสูงและสมบูรณ์แบบของการเลือกตั้ง ระบอบ

                  การเมืองกลับเลือกที่จะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะความไม่พอใจต่อการเลือกตั้งนั้น
                  ทำาให้ประชาชนรวมตัวกันได้มากขึ้น และภาคประชาชนมีความเข้มแข็งขึ้น ตระหนักถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                  ทางการเมืองของตนเพิ่มขึ้น และสร้างแรงกดดันให้ระบอบนั้นเพิ่มหรือยินยอมให้มิติของประชาธิปไตยมีมากขึ้น


                          กรณีที่สี่ การเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเกิดขึ้นในเงื่อนไขระบอบการเมืองแบบเดียวกับ

                  กรณีที่สาม แต่ชนชั้นนำาในระบอบการเมืองเลือกจะใช้กำาลังปราบปรามประชาชน ตั้งแต่ห้ามหรือปราบปราม

                  การชุมนุม แทรกแซงและกดดันสื่อ กักขังผู้เห็นต่าง และประกาศภาวะฉุกเฉิน เงื่อนไขการปราบปรามนี้
                  จะเกิดขึ้นได้เมื่อกองทัพอยู่ข้างเดียวกับผู้มีอำานาจ รวมทั้งศาลและสถาบันที่จัดและตรวจสอบการเลือกตั้ง
                  อยู่ใต้อิทธิพลของชนชั้นนำาในระบอบการเมือง รวมทั้งผู้ที่ไม่พอใจกับการเลือกตั้งรวมกันไม่ติด


                          กรณีที่ห้า การลุกฮือขึ้นของประชาชนและการปฏิวัติ รวมทั้งการเปลี่ยนระบอบการเมือง นี่คือกรณีที่

                  ชนชั้นนำาทางอำานาจในระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่นั้นล้มเหลวทั้งการใช้ไม้อ่อนไม้แข็งในการจัดการกับความไม่พอใจ
                  ต่อการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งเงื่อนไขที่เป็นไปได้ไม่ใช่แค่ว่าประชาชนนั้นเป็นใหญ่ แต่เป็นเพราะว่ากองทัพนั้น

                  เปลี่ยนข้าง และชนชั้นนำาทางอำานาจไม่สามารถควบคุมองคาพยพของรัฐได้ รวมทั้งผู้ที่ไม่พอใจกับผลการเลือกตั้ง
                  รวมกระทั่งพรรคการเมืองต่าง ๆ นั้นมีเอกภาพ รวมทั้งมีแรงกดดันจากนานาชาติ เงื่อนไขเหล่านี้จะนำาไปสู่

                  การเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานจากเบื้องล่าง (พัฒนาจาก พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2562ข, Norris, 2014 และ
                  Norris, 2015)




                          2.1.8.6 กำรเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยควำมขัดแย้ง

                          การเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง (contentious election) เป็นแนวคิดในการศึกษาที่พิจารณาว่า

                  การเลือกตั้งนั้นไม่ได้มีแต่เพียงมิติของการแข่งขัน โดยอนุมานว่าการแข่งขันนั้นมีเงื่อนไขของความเท่าเทียม
                  เป็นธรรม มีกฎกติกาที่แต่ละฝ่ายยอมรับได้ในระดับหนึ่ง (competition หรือมีลักษณะ competitive)
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65