Page 65 - kpiebook63010
P. 65

64       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             ได้แก่ ความสำาเร็จของการสร้างเครือข่ายการสื่อสารและสังคมผ่านระบบการเมืองที่อำานาจกระจายตัว อาทิ

             ในสหรัฐ เนื่องจากระบบพรรคไม่ตายตัว เพราะคนอาจไม่เป็นสมาชิกพรรคดังนั้นการใช้สื่อออนไลน์เข้าถึง
             คนที่อยู่ตรงกลาง ๆ หรือเปลี่ยนการตัดสินใจในแต่ละครั้งของการรณรงค์การเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องสำาคัญ

             การจัดการระบบสมาชิกอย่างเป็นระบบ การจัดการคัดสรรผู้สมัคร การจัดการด้านการใช้จ่ายและการเงินในการรณงค์
             หาเสียง และบทบาทของสื่อเดิมในการรณรงค์หาเสียง อาทิ โทรทัศน์ และระบบการตลาดที่เข้าถึงผู้ชม

             และผู้ลงคะแนน (Anstead and Chadwick, 2009)


                      บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการเมืองโดยเฉพาะการรณรงค์การเลือกตั้งนั้นเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก
             ในปัจจุบัน สิ่งที่สำาคัญอาจจะประกอบด้วยมิติใหม่ ๆ อีกสี่ด้านคือ

                      1.    การเกิดของสื่อใหม่ ๆ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลที่ถูกควบคุมโดยผู้ใช้ทั่วไป รวมทั้งนักการเมืองเอง
                            อาทิ Twitter ซึ่งใช้ในการส่งข้อความสั้น ๆ Instragram ซึ่งเน้นการส่งรูปภาพ และการเติบโต

                            ของเฟซบุ๊ก (ทั่วโลกใช้ถึง 230 ล้านคนในปี ค.ศ. 2019)

                      2.    การให้ความสำาคัญกับ “ข้อมูลหลังบ้าน” หรือการใช้สื่อโซเชียลเป็นหน้าฉากในการเก็บข้อมูล
                            กลับมาเพื่อใช้วิเคราะห์แบบแผนพฤติกรรมของผู้รับข่าวสารและเยี่ยมชมสื่อ สิ่งนี้แตกต่าง

                            จากการใช้สื่อออนไลน์ในยุคแรกที่การเข้าถึงผู้ชม/ผู้รับสาร โดยเน้นไปที่เนื้อหา แต่ในวันนี้
                            นอกจากการส่งข้อมูลไปถึงผู้รับสารแล้ว สื่อออนไลน์สมัยใหม่ยังทำาให้ผู้ส่งข้อมูลได้รับข้อมูล

                            ในรายละเอียดกลับมาถึงลักษณะทางประชากร และความสนใจ รวมทั้งแบบแผนการใช้ชีวิต
                            ของผู้รับชมมากขึ้น ทำาให้ผู้ใช้สื่อนั้นสามารถวางแผนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการสื่อสาร

                            เข้าถึงกลุ่มที่ต้องการได้มากขึ้น และสามารถซื้อสื่อโฆษณาได้มากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งพบว่า
                            ส่วนหนึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือเรื่องของความเป็นส่วนตัวของผู้ชม

                      3.    การสื่อสารในโลกออนไลน์ไม่จำาเป็นเสมอไปที่จะนำาไปสู่ความสมานฉันท์สอดคล้องต้องกัน

                            ทางการเมือง ส่วนหนึ่งอาจจะหมายถึงการที่ลักษณะสำาคัญของสื่อโซเชียลนั้นมีลักษณะที่
                            จำากัดตัวกับผู้เข้าชมมากกว่าสื่อเดิมที่สามารถเข้าถึงผู้ชมที่มีฐานกว้างกว่า อาทิ โทรทัศน์ ดังนั้น

                            อาจทำาให้สื่อออนไลน์ทำาให้เกิดความแตกแยกทางสังคม (polarization)
                      4.    เนื้อหาสาระหลักในสื่อออนไลน์อาจจะไม่ได้มีแต่ข้อมูลที่ถูกต้อง หรือ ข้อมูลที่ใช้โจมตีคนอื่น

                            แบบเดิม แต่อาจลามไปถึงเรื่องของการผลิตข่าวปลอม (fake news) เพื่อส่งผลทางการเมือง

                            เป็นคุณแก่ฝ่ายตนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำาแหน่งประธานาธิบดี
                            และการบริหารประเทศของทรัมป์นั้นถูกวิจารณ์ว่ามีการใช้ข่าวปลอมมากเป็นประวัติการณ์
                            การศึกษาของ Bovet and Makse (2019) พบว่าจากการทวีตในทวิตเตอร์ 171 ล้านใน

                            ช่วงห้าเดือนก่อนวันเลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 25 จะกระจายข่าวปลอมหรือข่าวสารที่เต็มไป

                            ด้วยอคติอย่างรุนแรง และเป็นฝ่ายที่สนับสนุนทรัมป์ ขณะที่ผู้ที่สนับสนุนคลินตันมักจะส่ง
                            ข่าวสารที่มีลักษณะอุดมการณ์กลาง ๆ และไปทางสายก้าวหน้า (Bovet and Makse, 2019)
                            ส่วนงานของ Narayanan และคณะ (2018) ที่วิจัยข้อความในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กในช่วง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70