Page 70 - kpiebook63010
P. 70
69
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ภายหลังการเลือกตั้งหลวงพิบูลสงครามได้เข้ารับตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบแบ่งเขต โดยถืออัตราส่วนพลเมือง 200,000 คน
ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน เหมือนกับอัตราส่วนในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังได้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 91 คน ซึ่งเท่ากับการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ด้วย (เพิ่งอ้าง, น.46-48)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 4 (6 มกราคม พ.ศ. 2489)
การเลือกตั้งครั้งที่ 4 มีขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 หลังจากที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ตัดสินใจ
ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้เหตุผลว่าสภาผู้แทนราษฎรชุดที่อยู่ในอำานาจขณะนั้นอยู่มาตั้งแต่
พ.ศ. 2481 ซึ่งได้รับการต่ออายุมา 2 ครั้งแล้ว เมื่อสงครามยุติจึงควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ การเลือกตั้งครั้งนี้
เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบแบ่งเขต โดยถือเอาอัตราส่วนพลเมือง 200,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน
ภายหลังการเลือกตั้งนั้นนายควง อภัยวงศ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายควงก็ได้นำาคณะรัฐบาลลาออกเมื่อวันที่
18 มีนาคม พ.ศ. 2489 เนื่องจากนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี ได้เสนอ พ.ร.บ. คุ้มครองค่าใช้จ่าย
ของประชาชนในภาวะคับขันต่อสภา โดยฝ่ายรัฐบาลไม่เห็นด้วย แต่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการ นายควง
จึงนำาคณะรัฐบาลลาออก หลังจากนั้นสภาได้ลงมติเลือกนายปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี (เพิ่งอ้าง, น.50-52)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 5 (5 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งเพิ่มเติม จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 การเลือกตั้งครั้งนี้
เป็นการเลือกตั้งด้วยวิธีการแบ่งเขต ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในเขตของตนเอง
โดยตรง การเลือกตั้งครั้งนี้ได้จัดขึ้นเนื่องมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489
ได้กำาหนดเพิ่มจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำานวนพลเมือง และยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประเภทที่ 2 ทำาให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมเฉพาะในพื้นที่ 47 จังหวัด (ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง
สถาบันพระปกเกล้า, 2554) เพื่อให้ได้ผู้แทนครบตามจำานวนที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำาหนดไว้ คือ เพิ่มอีก 82 คน
รวมจากเดิม 96 คน เป็นทั้งหมด 178 คน (สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527, น.53-54)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 6 (29 มกราคม พ.ศ. 2491)
หลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ฉบับ พ.ศ. 2490 ที่คณะรัฐประหารได้เตรียมร่างเอาไว้ และมีการแต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำาหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง