Page 75 - kpiebook63010
P. 75
74 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 360 คน (เพิ่งอ้าง, มาตรา 100) การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต
เรียงเบอร์ ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น (เพิ่งอ้าง, มาตรา 102)
หลังการเลือกตั้ง พลเอกสุจินดา คราประยูรได้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยการสนับสนุนของพรรคสามัคคีธรรม
พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร แต่ต่อมารัฐบาลชุดนี้ก็เผชิญการต่อต้าน
จนนำามาสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558, น.35)
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ 3 (เกี่ยวกับอำานาจของสมาชิกวุฒิสภา) และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 (เกี่ยวกับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี)
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 360 คน การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์ ในเขตเลือกตั้ง
แต่ละเขตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่า
จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534,
มาตรา 102) พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมีทั้งหมด 12 พรรค ได้รับการเลือก 11 พรรค หลังการเลือกตั้ง
พรรคประชาธิปัตย์ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด และได้เป็นแกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 5 พรรค
คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคม และพรรคเอกภาพ นายชวน หลีกภัย
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558, น.35-36)
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ 5 จำานวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือตามเกณฑ์ราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1 คน ต่างจากช่วงก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำาหนดจำานวนสมาชิกผู้แทนไว้ที่ 360 คน (ดู รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538, มาตรา 106) การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้ง
แบบรวมเขตเรียงเบอร์ ในเขตเลือกตั้งแตละเขตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิออกเสียง
ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น (เพิ่งอ้าง,
มาตรา 106-108) หลังการเลือกตั้ง นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยังคงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534
ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5 หลังการเลือกตั้ง พรรคความหวังใหม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด และเป็นแกนนำา
ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคชาติพัฒนา
พรรคเสรีธรรม และพรรคมวลชน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นนายกรัฐมนตรี
(พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558, น.36)