Page 74 - kpiebook63010
P. 74

73








                          ส่วนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือก 324 คน

                  พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ได้แก่ ก้าวหน้า กิจสังคม ชาติไทย ชาติประชาธิปไตย ประชากรไทย ประชาธิปัตย์
                  ประชาเสรี สยามประชาธิปไตย และสังคมประชาธิปไตย สำาหรับการแข่งขันในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น

                  พรรคประชากรไทยได้ 24 ที่นั่งจากที่เคยได้ที่นั่งในกรุงเทพมหานครเกือบทั้งหมดในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
                  ใน พ.ศ. 2522 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 8 ที่นั่งจากที่เคยได้เพียง 1 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ส่วนพรรคกิจสังคม

                  ได้ 4 ที่นั่ง (เพิ่งอ้าง, น.97-103) หลังการเลือกตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี


                          การเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง คือ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่
                  24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ภายใต้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2528 ใช้เกณฑ์ราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎร 1 คน  และเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์ โดยในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต ให้ผู้มีสิทธิ
                  เลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้

                  ในเขตเลือกตั้งนั้น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528, มาตรา 3-5)

                          การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 347 คน พรรคการเมือง

                  ที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมี 16 พรรค ได้รับเลือกตั้ง 15 พรรค ภายหลังการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์

                  พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร ได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสม และพรรคการเมืองส่วนใหญ่
                  สนับสนุนให้พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง (พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558, น.34)


                          ส่วนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 357 คน พรรคการเมือง
                  ที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมี 19 พรรค ได้รับเลือกตั้ง 15 พรรค พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประกาศไม่รับตำาแหน่ง

                  นายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยพรรคการเมือง

                  6 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคราษฎร พรรคชาติไทย พรรคสหประชาธิปไตย
                  และพรรคมวลชน ต่อมารัฐบาลชุดนี้และสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเนื่องจากการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์
                  พ.ศ. 2534 (เพิ่งอ้าง, น.35)




                          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 18 (22 มีนาคม พ.ศ. 2535) การเลือกตั้ง
                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 19 (13 กันยายน พ.ศ. 2535) การเลือกตั้งสมาชิกสภา

                  ผู้แทนราษฎรครั้งที่ 20 (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  ครั้งที่ 21 (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)


                          การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 สภาผู้แทนราษฎร
                  ประกอบด้วยสมาชิก 360 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534, มาตรา 99) โดยจำานวน

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีให้คำานวณตามเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน โดยเฉลี่ย
                  จำานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79