Page 71 - kpiebook63010
P. 71
70 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
จึงจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแบบรวมเขตเป็นครั้งแรก ผลการเลือก
ตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวนมากกว่าพรรคการเมืองอื่น ๆ
พรรคประชาธิปัตย์จึงได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลของนายควง
อยู่ได้ไม่นานก็ถูกบังคับให้ลาออกเพื่อเปิดทางให้จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีแทน (เพิ่งอ้าง, น.56-59)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 7 (5 มิถุนายน พ.ศ. 2492)
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 แทนรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
พ.ศ. 2490 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติมให้ครบตามจำานวนที่เพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
พ.ศ. 2492 การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้วิธีรวมเขต มีอัตราส่วนพลเมือง 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน
ซึ่งการเลือกตั้งก่อนหน้านั้นถือเกณฑ์ 200,000 คน เป็นการเลือกตั้งเพิ่มใน 19 จังหวัด เป็นจำานวนสมาชิกสภา
เพิ่ม 21 คน ผลการเลือกตั้งทำาให้พรรคประชาธิปัตย์มีที่นั่งมากที่สุด คือ 40 ที่นั่ง แต่จอมพล ป. ก็ยังเป็น
ผู้จัดตั้งรัฐบาลโดยการสนับสนุนของคณะรัฐประหารและพรรคเล็กพรรคน้อยในสภาผู้แทนราษฎร (เพิ่งอ้าง,
น.59-61)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 8 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495)
หลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงครามกับคณะทหารได้ทำารัฐประหารเงียบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2494 ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้ระบบสภาเดียวที่มีสมาชิกสองประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้ง จึงได้มีการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบรวมเขต อัตราส่วนพลเมือง 200,000 คน
ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน การเลือกตั้งได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวน 123 คน โดยพรรคต่าง ๆ
ที่สนับสนุนจอมพล ป. ได้รับเลือกเป็นส่วนมาก (เพิ่งอ้าง, น.62)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 9 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
การเลือกตั้งครั้งต่อมาเป็นการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งครั้งนี้
เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบรวมเขต อัตราพลเมือง 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน
ผลการเลือกตั้งนั้นพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด คือ 86 เสียง
พรรคประชาธิปัตย์ 30 เสียง นอกจากนั้นเป็นพรรคอื่น ๆ และผู้สมัครอิสระ รวมเป็นจำานวนทั้งหมด 160 ที่นั่ง
จอมพล ป. ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง (เพิ่งอ้าง, น.64-65)