Page 72 - kpiebook63010
P. 72
71
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 10 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และคณะทหารได้ทำารัฐประหารยึดอำานาจ
การปกครอง ยุบสภาผู้แทนราษฎร และแต่งตั้งนายพจน์ สารสินเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว คณะทหารได้แต่งตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่ ส่วนสมาชิกประเภทที่ 1 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 90 วัน
คือในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 (เพิ่งอ้าง, น.66)
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบรวมเขต อัตราส่วนราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 1 คน มีผู้แทนราษฎรได้ 160 คน ผลการเลือกตั้งพรรคสหภูมิของรัฐบาลได้ 44 คน
ประชาธิปัตย์ได้ 39 คน นอกจากนั้นเป็นพรรคอื่น ๆ และไม่สังกัดพรรค พลโทถนอม กิตติขจรได้เป็นนายก
รัฐมนตรี นอกจากนี้ มีการเลือกตั้งเพิ่มตามจำานวนประชาชนที่เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2501 อีก 26 ที่
ผลปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ไป 13 ที่ โดยกวาดที่นั่งในกรุงเทพฯ ทั้งหมดตามที่เคยได้ (เพิ่งอ้าง, น.67-68)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 11 (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512)
หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยึดอำานาจอีกครั้งหนึ่ง และครองอำานาจอย่างยาวนาน จากนั้น
จอมพลถนอม กิตติขจรก็สืบทอดอำานาจต่อ จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2511 และประกาศ
ใช้กฎหมายพรรคการเมืองในเวลาต่อมา ประเทศไทยก็มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2512 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบรวมเขต ในอัตราพลเมือง 150,000 คนต่อสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำานวน 219 คน ผลการเลือกตั้งพรรคสหประชาไทยซึ่งเป็น
พรรครัฐบาลได้รับเลือกมากที่สุด คือ 76 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 57 คน พรรคอื่น ๆ ได้จำานวนรองลงมา
ส่วนผู้สมัครอิสระได้รับเลือกถึง 71 คน หลังการเลือกตั้ง บรรดาผู้แทนที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองจำานวนหนึ่งถูกดึงตัว
มาอยู่พรรคสหประชาไทยเพื่อสนับสนุนให้จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง (เพิ่งอ้าง, น.68-70)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 12 (26 มกราคม พ.ศ. 2518) และ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 13 (4 เมษายน พ.ศ. 2519)
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้ง
ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการร่างขึ้นมาภายใต้รัฐบาล
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังจากที่ จอมพลถนอม กิตติขจร ลงจากอำานาจ
สภาผู้แทนราษฎรภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำานวนไม่น้อยกว่า
240 คน แต่ไม่เกิน 300 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517, มาตรา 111) การเลือกตั้ง
สมาชิกผู้แทนเป็นการเลือกตั้งแบบผสมระหว่างรวมเขตกับแบ่งเขต จำานวนสมาชิกผู้แทนที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี