Page 73 - kpiebook63010
P. 73

72       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             ให้คำานวณตามเกณฑ์จำานวนราษฎรที่กำาหนดไว้ คือ อัตราส่วนราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิกผู้แทน 1 คน

             เขตเลือกตั้งหนึ่งมีสมาชิกผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน (สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527, น.73, 75)
             โดยจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดใด

             มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้ง
             มีจำานวนสมาชิกผู้แทนเขตละ 3 คน ถ้าแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งให้มีจำานวนผู้แทนครบ 3 คนทุกเขตไม่ได้

             ก็ให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนเขตละ 3 คนเสียก่อน แต่เขตที่เหลือต้องไม่น้อยกว่าเขตละ
             2 คน และถ้าจังหวัดใดมีผู้แทนได้ 4 คน ก็ให้แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้นเป็น 2 เขต เขตหนึ่งให้มีผู้แทน 2 คน

             (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517, มาตรา 112)


                      ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือก 72 คน พรรคธรรมสังคม
             45 คน พรรคชาติไทย 28 คน พรรคเกษตรสังคม 19 คน พรรคกิจสังคม 18 คน พรรคสังคมชาตินิยม 16 คน

             พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 15 คน พรรคพลังใหม่ 12 คน พรรคแนวร่วมสังคม 10 คน และอื่น ๆ รวมทั้งหมด
             269 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคเกษตรสังคมแต่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภา

             ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลต่อ (สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว,
             2527, น.74)


                      ส่วนผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้ง
             ทั้งสิ้น 279 คน โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกมากที่สุด 114 คน และเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลผสม

             (เพิ่งอ้าง, น.75-76)



                      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 14 (22 เมษายน พ.ศ. 2522) การเลือกตั้ง

             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 15 (18 เมษายน พ.ศ. 2526) การเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 16 (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ครั้งที่ 17 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531)


                      การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526

             ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยสภาผู้แทนราษฎรและบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 ใช้เกณฑ์ราษฎร
             150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521,

             มาตรา 90) และเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
             เลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น (เพิ่งอ้าง, มาตรา 204)


                      การเลือกตั้งครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือก 301 คน

             ไม่มีพรรคการเมืองใดที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ได้รับเสียงสนับสนุน
             จากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง (สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527, น.80)
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78