Page 77 - kpiebook63010
P. 77
76 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
เลือกตั้งใหม่ในวันที่ 29 มกราคมนั้นผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง (ประกาศคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118
ตอนที่ 8 ก วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544, หน้า 12) ส่วนผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สำาหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งมี 37 เขต จำานวน 37 คน ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยได้ไป 32 คน
พรรคประชาธิปัตย์ 4 คน และพรรคชาติไทย 1 คน (ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 21 ก วันที่ 10 มีนาคม
พ.ศ. 2548, หน้า 33-34; ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 21 ก วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2548, หน้า 43-44)
ส่วนการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้มีการเพิกถอน
การเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปใหม่
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 25 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2550 มีขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม และเป็นการเลือกตั้ง
ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งแบบผสม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีจำานวน 480 คน โดยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมี 400 คน ส่วนสมาชิกที่มาจาก
การเลือกตั้งแบบสัดส่วนมี 80 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, มาตรา 93) การเลือกตั้ง
สมาชิกผู้แทนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์หรือหนึ่งเขตมีผู้แทนได้หลายคน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เท่าจำานวนผู้แทนที่มีได้
ในเขตเลือกตั้งนั้น (เพิ่งอ้าง, มาตรา 94) ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนแบบสัดส่วนกำาหนดเขตเลือกตั้งโดยแบ่ง
จังหวัดเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เลือกพรรคการเมืองที่จัดทำาบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 เสียง (เพิ่งอ้าง, มาตรา 95-96)
การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2550 ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำานวน 400 คน แบ่งเป็น
ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน 199 คน พรรคประชาธิปัตย์ 131 คน พรรคชาติไทย 30 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน
17 คน พรรคมัชฌิมาธิปไตย 11 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 8 คน และพรรคประชาราช 4 คน ส่วนผู้ได้รับ
เลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบสัดส่วน จำานวน 80 คน แบ่งเป็น ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน 34 คน พรรคประชาธิปัตย์
33 คน พรรคชาติไทย 4 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 7 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน และพรรคประชาราช
1 คน (สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551, น.259)
ส่วนผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด 12 เขต จำานวน 36 ที่นั่ง
ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 27 ที่นั่ง และพรรคพลังประชาชนได้ 9 ที่นั่ง (ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 5 ก
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 61-62)