Page 81 - kpiebook63010
P. 81
80 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
การทุจริตเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อม จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524
การเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่นี้เกิดขึ้นเมื่อ สมพร จุรีมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเจ้าของพื้นที่เสียชีวิตลง
จึงมีการเลือกตั้งซ่อมที่มีคู่แข่งขัน คือ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคชาติ
ประชาธิปไตย กับ พันตำารวจโทบุญเลิศ เลิศปรีชา รองหัวหน้าพรรคกิจสังคม ลงแข่งขันกัน ในการเลือกตั้งครั้งนี้
ฝ่ายพลเอกเกรียงศักดิ์มีการใช้ดาราจากละครทีวีออกมาแจกซองแก่ชาวบ้าน แม้กระทั่งข้าราชการและตำารวจ
ก็มาช่วยกันแจกซอง (โพสต์ทูเดย์, 2557ก)
ภายหลังจากเหตุการณ์ที่ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2524 จะพบว่าการอภิปรายถึงการทุจริตการเลือกตั้ง
จะมีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคลแต่ละกรณี และมีการอ้างอิงในภาพรวมว่านักการเมืองมักจะมีการโกงกิน
แต่ยังไม่มีการอธิบายภาพรวมของการทุจริตทางการเมือง ทั้งนี้การทุจริตในเรื่องของการเลือกตั้งนั้น อาจไม่ใช่
เรื่องเดียวกับการทุจริตทางการเมือง จนกระทั่งในสมัยหลังจะพบข้อกล่าวหาที่เชื่อมโยงระหว่างการทุจริต
การเลือกตั้ง(โดยเฉพาะการซื้อเสียง)กับการทุจริตทางการเมือง อาทิ ข้อกล่าวหาเรื่องบุฟเฟต์คาร์บิเนต ในสมัย
รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน (พ.ศ. 2531-2534) และการคอร์รัปชัน ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือกินรวบ
ประเทศในสมัยรัฐบาล พันตำารวจโททักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549)
2.2.3 กำรเลือกตั้งในกรุงเทพมหำนคร
ขอบข่ายของการทบทวนในมิติประวัติศาสตร์จะขอย้อนไปถึงการเลือกตั้งครั้งที่ 14 ใน พ.ศ. 2522
ดังนี้ ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1) ข้อจำากัดในข้อมูลที่มีในช่วงของการทำาวิจัย ซึ่งในเอกสารเรื่อง การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539
จากฐานข้อมูลออนไลน์คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติของรัฐสภาได้จัดทำาไว้เป็นระบบย้อนหลังไปถึงปี 2522
เท่านั้น (ดูใน ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2539) กอปรกับเอกสารงานวิจัย
การเลือกตั้งในเขต กทม. 2 ครั้งที่ผ่านคืองานของ ฐปนรรต พรหมอินทร์ (2553) เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.
ของ กทม. เมื่อ พ.ศ. 2550 และงานของ พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ (2558) เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ของ กทม.
เมื่อ พ.ศ. 2554 ไม่มีข้อมูลในส่วนของการเลือกตั้งเฉพาะใน กทม. ย้อนหลังนี้แต่อย่างใด
2) หากตีความในมิติของการเมืองไทยร่วมสมัย จะพบว่าการเมืองไทยในช่วงหลังรัฐธรรมนูญ 2521
มีความต่อเนื่องยาวนาน การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2522 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ปี 2521 ตัวรัฐธรรมนูญ 2521 เองที่ใช้มาจนถึงปี 2534 และรัฐบาลพลเอกเปรมก็มีเสถียรภาพและมีความ
สมำ่าเสมอของการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนถึงปี 2531 ตลอดจนทั้งผู้ที่มีบทบาททางการเมือง
ส่วนใหญ่นับตั้งแต่ยุคนั้นก็ยังมีบทบาทต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน หรือผู้มีบทบาททางการเมืองรายใหม่
ส่วนใหญ่ก็สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการเมืองนับตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา