Page 78 - kpiebook63010
P. 78
77
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 26 (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 27 (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557)
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ฉบับ พ.ศ. 2550 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำานวน 500 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิก
ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน
ซึ่งเลือกโดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบละหนึ่งใบ การเลือกตั้งจึงเป็นการเลือกตั้งแบบผสม คือ แบ่งเขตกับบัญชีรายชื่อ
สำาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละหนึ่งคน ส่วนการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
รับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำาขึ้น โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อใด
บัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554, มาตรา 3)
การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2554 ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำานวน 375 คน แบ่งออกเป็น
ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย 204 คน พรรคประชาธิปัตย์ 115 คน พรรคภูมิใจไทย 29 คน พรรคชาติไทยพัฒนา
15 คน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 5 คน พรรคพลังชล 6 คน และพรรคมาตุภูมิ 1 คน ส่วนผู้ได้รับเลือกเป็น
ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อจำานวน 125 คน แบ่งออกเป็น ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย 61 คน พรรคประชาธิปัตย์ 44
คน พรรคภูมิใจไทย 5 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 4 คน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 2 คน พรรคพลังชล 1 คน
พรรครักประเทศไทย 4 คน พรรคมาตุภูมิ 1 คน พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน พรรคมหาชน 1 คน
และพรรครักษ์สันติ 1 คน พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด (สำานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2555, น.371)
สำาหรับ ส.ส. ของกรุงเทพฯ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เป็น ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ 23 คน
และพรรคเพื่อไทย 10 คน (เพิ่งอ้าง, น.360)
ส่วนการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ผิดกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำาเสร็จภายในวันเดียวกัน ตามรัฐธรรมนูญ
นั้นการยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำาโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำาหนดวันเลือกตั้งใหม่ และวันเลือกตั้งนั้น
ต้องกำาหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แต่การเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้ง 28 เขตจาก 375 เขตไม่สามารถ
จัดการเลือกตั้งได้ การจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตจึงเป็นไปไม่ได้เพราะจะหมายความว่าการเลือกตั้งนั้น
ไม่สามารถจัดให้มีขึ้นภายในวันเดียวกันคือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ตามที่ประกาศไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภา
พ.ศ. 2556 (Bangkok Post, 2014)