Page 69 - kpiebook63010
P. 69
68 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
2.2 กำรเลือกตั้งกับพัฒนำกำรของกำรเมืองไทย
2.2.1 พัฒนำกำรของกำรเลือกตั้งในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 28 ครั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2476
จนถึงครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2562 ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งมีวิธีการและระบบที่แตกต่างกันไป
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 1 (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2476 ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 และภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 บัญญัติให้มีสภาผู้แทนราษฎรสภาเดียว จึงเป็นระบบ
สภาเดียว แต่บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในมาตรา 65 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก
2 ประเภทซึ่งมีจำานวนเท่ากัน สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2
เป็นผู้ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1
(สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแพ้ว, 2527, น.39-40)
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งแบบทางอ้อม ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนโดยตรง วิธีการเลือกตั้ง
ให้ราษฎรในหมู่บ้านเลือกผู้แทนของหมู่บ้าน แล้วผู้แทนของหมู่บ้านเลือกผู้แทนในระดับตำาบล จากนั้นผู้แทนในระดับ
ตำาบลเลือกสมาชิกผู้แทนสำาหรับจังหวัดนั้น ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดละ 1 คน แต่ถ้าจังหวัดใดมีพลเมือง
เกิน 200,000 คน ให้เลือกสมาชิกผู้แทนเพิ่มอีก 1 คน ทุก ๆ จำานวน 200,000 คนของพลเมือง (เพิ่งอ้าง, น.41)
ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งจำานวน 78 คน หลังจากการเลือกตั้ง
พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรี (เพิ่งอ้าง, น.41-42)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 2 (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480)
การเลือกตั้งครั้งที่ 2 มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนสามารถ
ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทางตรงได้ จึงเป็นการเลือกตั้งทางตรงครั้งแรก (เพิ่งอ้าง, น.43)
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยถือจังหวัดหนึ่ง ๆ เป็นเขตเลือกตั้งซึ่งจะมี
ผู้แทนราษฎรได้ 1 คน แต่ถ้าจังหวัดใดมีพลเมืองเกิน 200,000 คน ให้มีเขตเลือกตั้งเพิ่มอีก 1 เขตต่อจำานวน
พลเมืองทุก ๆ 200,000 คน เศษของ 200,000 คนนั้นถ้าเกิน 100,000 คนก็ให้นับเป็น 200,000 คน วิธีการนี้
ทำาให้บางจังหวัดมีเขตเลือกตั้งหลายเขต เช่นกรุงเทพฯมี 3 เขต การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้ง
91 คน หลังการเลือกตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (เพิ่งอ้าง, น.44-45)