Page 66 - kpiebook63010
P. 66

65








                                ปลายปี ค.ศ. 2017 และ ต้นปี ค.ศ. 2018 พบว่า เครือข่ายผู้สนับสนุนทรัมป์แบ่งปันและนำา

                                ข่าวปลอมลงในทวิตเตอร์มากที่สุด ขณะที่ พวกขวาจัดสุดโต่งแบ่งปันและนำาข่าวปลอมลงใน
                                เฟซบุ๊กมากที่สุด (Narayanan et al., 2018) งานวิจัยยังชี้ว่าอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน

                                มีผลต่อการเข้าใจและถูกกระทบโดยอิทธิพลของข่าวด้วย
                          รูปแบบของข่าวปลอมอาจจะมีได้ตั้งแต่ การใช้หลักฐานที่ถูก (เช่นภาพ) แต่ใส่ไว้ผิดบริบท หรืออธิบาย

                  ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดอีกที่หนึ่ง ทำาเว็บไซต์ให้เข้าใจผิดว่าเป็นเว็บที่เราคุ้นเคย เช่นคล้ายกัน สร้างเว็บไซต์ปลอม

                  สร้างข้อมูลเท็จ ตัดต่อภาพ ล้อเลียนเสียดสี (Wardie, 2016) หรือ ข่าวปลอมอาจจะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ
                  ข่าวหรือโพสหรือข้อมูลที่มีลักษณะเสียดสีหรือตลก การโยงมั่ว การทำาให้เข้าใจผิด การผิดที่ผิดทาง การมโนที่มา
                  ปลอมตัดต่อ และการปลอมแบบทั้งชิ้น (ปรับปรุงจาก Nutnon, 2561)






                  2.1.10 กำรเลือกตั้งในเขตเมืองและมหำนคร


                          งานวิจัยเรื่องของการเลือกตั้งในระดับประเทศในเขตเมืองไม่ค่อยมีการศึกษาตีความอย่างจริงจัง
                  เมื่อเทียบกับการศึกษาการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น


                          การวิเคราะห์การเลือกตั้งระดับประเทศและนัยยะต่อมิติเรื่องเมืองในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเลือกตั้ง

                  ประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในปี ค.ศ.2016 พบสาระสำาคัญที่น่าสนใจหลายประการ อาทิการตีความว่าการเลือกตั้ง
                  ประธานาธิบดีในครั้งนี้มิใช่การแข่งขันระหว่าง ฝ่ายรีพับลิกัน และ ฝ่ายเดโมแครต แต่เป็นการแข่งขันระหว่าง

                  คนชนบทกับคนในเมือง ในความหมายที่ว่า ชาวชนบทนั้นมีความรู้สึกโกรธแค้นเป็นอย่างมากต่อรัฐบาลกลาง
                  ที่ทำาให้เขาผิดหวังดังนั้นจึงเลือกทิศทางใหม่ กล่าวคืองานและธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาเติบโตน้อยมากนอกเขตเมือง

                  ดังนั้นชาวชนบทจึงโกรธแค้นชาวเมือง  ดังนั้น พวกเขาจึงเลือกคนที่ออกมาให้สัญญาว่าจะนำาเอาทุกอย่าง
                  กลับไปเหมือนเดิมซึ่งเป็นการส่งสัญญานไปยังพวกคนที่อยู่ในเมืองซึ่งมีจำานวนน้อยกว่าและถูกห้อมล้อม

                  ด้วยคนจนในชนบท การโหวตในคราวนี้จึงเป็นสัญญานเหมือนการขว้างหินไปที่หน้าต่าง และเป็นการลงคะแนนเสียง
                  ด้วยความสิ้นหวังหดหู่ใจ เพราะคนที่อยู่ในเมืองนั้นไม่ได้เข้าใจความเดือดร้อนในชนบท และปรากฏการณ์

                  ในสื่อต่าง ๆ ที่ไม่สนใจปัญหาในชนบท และการใช้สื่อใหม่ที่ทำาให้ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนอยู่ในวงแคบ ๆ
                  แบบกรณีสื่อแบบเฟซบุ๊ก (Walker, 2016 และ Brownstein, 2016)


                          นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีประชากรอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบทในอเมริกา แต่ประชากรกระจุกตัว

                  ในเมืองใหญ่ทำาให้คะแนนของระบบคณะเลือกตั้งของบางรัฐไม่ได้สะท้อนเสียงที่แท้จริงทั้งประเทศ เพราะพื้นที่
                  บางพื้นที่แม้จะคนน้อย แต่ก็มีเสียงจากคณะเลือกตั้ง และยังมีข้อค้นพบอีกประการหนึ่งก็คือ ย่านชานเมือง และ

                  เมืองรองมีคนเพิ่มขึ้น และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น (Walker, 2016)


                          อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในระดับเมืองยังมีมิติที่น่าสนใจ
                  อีกสองประการ หนึ่งคือในเมืองนั้นอาจจะมีกลุ่มคนที่แตกต่างกันที่จำาต้องเข้าใจถึงความหลากหลาย
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71