Page 64 - kpiebook63010
P. 64
63
เสริมลิ้งก์เข้าไป เพื่อให้สามารถได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น และการเสริมเรื่องของเครื่องมือและข้อมูลในการ
ค้นหากิจกรรมรณรงค์และองค์กรเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ท้องถิ่น กล่าวโดยสรุปแล้วนักการเมืองที่มีความสำาคัญ
ในการใช้สื่อโซเชียลในยุคแรกอย่างจริงจังคือ Howard Dean ในการรณรงค์ของเขาในปี ค.ศ. 2003 (เพิ่งอ้าง)
อย่างไรก็ตาม การใช้เว็บไซต์และอีเมล์นั้นมีข้อจำากัดในการรณรงค์เพราะว่า เว็บไซต์นั้นจะเข้าถึงเฉพาะ
ผู้ที่สนใจสนับสนุนผู้สมัครอยู่แล้วซึ่งพวกเขาจะเข้ามาชม ขณะที่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แม้ว่าทางฝ่ายรณรงค์
จะส่งออกไป แต่ก็จะเข้าถึงเฉพาะที่ผู้ส่งมีที่อยู่ (ซึ่งทั้งสองอย่างแตกต่างจากสื่อยอดนิยมแบบเดิมคือโทรทัศน์ที่เข้าถึง
ผู้ชมในวงกว้างมากกว่า) การเพิ่มการเข้าชมและการเข้าถึงข้อมูลไปยังวงกว้าง ซึ่งหมายถึงคนที่ยังไม่ได้ตัดสิน
ใจเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเรื่องสำาคัญ ผู้สมัครจึงเพิ่มการเข้าถึงผู้เลือกตั้งผ่านการสื่อสารอีกสองแนวทางคือ
1. การสื่อสารออนไลน์แบบที่ถูกควบคุมโดยสื่อมวลชน (media-controlled online communication)
โดยการซื้อโฆษณาจากเว็บไซต์ของสื่อกระแสหลักเช่น ABCnews.com หรือ Foxnews.com สื่อระดับท้องถิ่น
หรือเชื่อมโยงกับบล็อคเกอร์อิสระ หรือบล็อคขององค์กรภาคประชาชนอิสระที่สนับสนุนผู้สมัครเหล่านั้น
2. การสื่อสารออนไลน์แบบที่ถูกควบคุมโดยผู้ใช้ทั่วไป (user-controlled online communication)
ซึ่งเป็นฐานของเครือข่ายทางสังคม (social network) คือการตีพิมพ์เอง (self-publishing) ของปัจเจกบุคคล
ที่แพร่กระจายการสื่อสารด้วยตัวเองไปยังเครือข่ายทางสังคมของตนเช่นเพื่อนหรือครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น
youtube Myspace Flickr facebook หรือเครือข่ายอื่น ๆ โดยผู้ใช้เหล่านี้ไม่ได้มีอาชีพของสื่อและบล็อคเกอร์
แต่ในสมัยก่อนปี ค.ศ. 2010 นั้น ยูทูปเป็นสื่อแบบที่ถูกควบคุมโดยผู้ใช้ทั่วไปที่เป็นที่นิยมที่สุดในการรณรงค์
ทางการเมือง ขณะที่เฟซบุ๊กนั้นเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน อย่างไรก็ตาม พลังและการเติบโตของเครือข่ายการสื่อสาร
ใหม่นี้ทำาให้ผู้สมัครเองก็หันมาใช้เครือข่ายเหล่านี้ด้วยตัวเองมากขึ้น (เพิ่งอ้าง)
จากที่ได้กล่าวมานั้นสิ่งที่พึงตระหนักถึงก็คือ อินเทอร์เน็ตกับการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับ
อินเทอร์เน็ตกับการเมือง เพราะกิจกรรมออนไลน์ และยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะ
ในยุโรปนั้นมักจะเริ่มมาจากเครือข่ายการประท้วงและองค์กรที่มีแนวคิดทวนกระแส ที่มีแรงจูงใจในการใช้
เทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ ๆ ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของตัวเอง เพื่อให้เป็นที่รู้จักและสามารถระดมผู้คน
เข้าร่วมกิจกรรมได้ การศึกษาของ Ward and Gibson (2009) พบว่า อินเทอร์เน็ตมีผลต่อการระดมผู้ชุมนุม
ในแบบครั้งเดียวจบ (one-off protest) และการสร้างเครือข่ายที่มีลักษณะชั่วคราว อนึ่งการจะทำาให้เครือข่าย
มีความต่อเนื่องยั่งยืนก็ยังจะต้องขึ้นกับความสามารถในการจัดองค์กรขององค์กรหรือขบวนการเคลื่อนไหวนั้น ๆ
(Ward and Gibson, 2009)
ข้อค้นพบในเรื่องความสำาคัญของการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ตกับการจัดองค์กรทางการเมืองสอดคล้อง
กับการค้นพบของ Anstead and Chadwick (2009) ในเรื่องความสัมพันธ์แบบวิภาษวิธี (dialectical relationship)
ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสาร กับสถาบันทางการเมือง ทั้งในสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ กล่าวคือเทคโนโลยี
การสื่อสารนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนรูป (reshape) ของสถาบันการเมือง แต่สถาบันการเมืองนั้นก็มีผลในขั้นสุดท้าย
ในการต่อรองและปรับเปลี่ยน (mediate) ผลของการสื่อสารทางการเมือง ภายใต้เงื่อนไขเชิงสถาบันห้าประการ