Page 67 - kpiebook63010
P. 67
66 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ของคะแนนเสียงเหล่านั้นด้วย นอกจากการพิจารณาภาพรวม สอง เมืองบางเมืองที่มีรายได้ตำ่ากว่าค่าเฉลี่ย
และมีคนผิวขาวมากกว่าผิวสีอื่นโดยเฉพาะไม่ใช่ฮิสแปนิก รวมทั้งมีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยน้อยกว่า
อีกกลุ่มหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นรีพับลิกันมากขึ้น ขณะที่เมืองใหญ่กลายเป็นเดโมเครตมากขึ้นและไม่สนใจ
ปัญหาของคนที่ยากจน สาม การไม่ไปเลือกตั้งก็มีผลทำาให้ฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบเช่น การลดลงของผู้ลงคะแนนเสียง
ของอาฟริกันอเมริกันมีผลทำาให้คลินตันแพ้ (Byler, 2017)
ในกรณีของอินเดีย แม้ว่าคะแนนเสียงของคนในเมือง (และเขตเลือกตั้งในเมือง) อาจจะมีน้อยกว่า
คนชนบทในการเลือกตั้งโลกสภา และคนในเมืองอาจไม่ได้ให้ความสนใจกระตือรือร้นในการลงคะแนนเสียง
แต่เสียงในเขตเมืองนั้นมีบทบาทมากในกรณีที่การแข่งขันในครั้งนั้นสูสีกันมาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อคนในเมือง
ออกไปลงคะแนนเพิ่มขึ้นซึ่งแปลว่าให้ความสนใจกับการเมืองมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น สำาหรับพรรคบีเจพี ซึ่งมี
ฐานเสียงในเมืองในอัตราส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ การรักษาฐานเสียงเป็นเรื่องสำาคัญ (ในปี 2009
ในเมืองมีร้อยละ 23.6 ทั้งประเทศมี 18.8 ขณะที่ในปี 2014 ในเมืองมีร้อยละ 38 ขณะที่ทั้งประเทศมีร้อยละ 31)
ส่วนพรรคคองเกรส.ส.ัดส่วนของคะแนนเขตเมืองกับเขตประเทศเท่ากัน ดังนั้นก็จะเสียไปไม่ได้ (Bureau, 2019)
2.1.11 พรรคกำรเมือง
แม้ว่าในการวิจัยนี้จะมุ่งเน้นที่การเคลื่อนไหวในการเลือกตั้ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พรรคการเมืองนั้น
มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดและเป็นตัวแปรสำาคัญในกระบวนการเคลื่อนไหว นอกจากนี้
การศึกษาการเลือกตั้งในระดับพื้นที่หนึ่ง ๆ ย่อมจะต้องเกี่ยวพันกับพรรคการเมืองในภาพรวมทั้งประเทศด้วย
Blondel and Inoguchi (2012) และทีมวิจัยได้ทำานำาเสนอตัวชี้วัดหรือปัจจัยในการพิจารณาลักษณะ
ของพรรคการเมืองร่วมสมัยของทั้งยุโรปตะวันตกและเอเชีย โดยชี้ให้เห็นกลุ่มของปัจจัยที่สำาคัญสี่กลุ่มได้แก่
1. ความเชื่อมโยงของพรรคการเมืองกับสังคม ได้แก่
1.1 ผลการเลือกตั้งในระดับชาติ จะได้ทราบว่าได้คะแนนมากหรือน้อย และเปรียบเทียบกับ
ครั้งก่อน ๆ เป็นอย่างไร
1.2 ธรรมชาติ หรือลักษณะที่แท้จริงของระบบการเลือกตั้งในระดับชาติ ซึ่งมีผลต่อแบบแผน
ของการลงคะแนน และอาจมีผลต่อจำานวนและผลการเลือกตั้ง
1.3 พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ลงแข่งขัน หรือ ล้มหายตายจากไป อะไรคือสาเหตุที่หายไป
1.4 พรรคการเมืองที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
1.5 สัดส่วนของคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับจาการเลือกตั้งทั่วไป เรื่องนี้จะมีผลต่อ
ความแข็งแกร่งของพรรค
1.6 ระดับของความผันผวนที่ส่งผลกระทบต่อพรรค เพื่อจะดูว่าพรรคเก่านั้นจะคงทนหรือไม่