Page 55 - kpiebook63010
P. 55

54       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      4.    ข้อปฏิบัติทางด้านสิทธิในการลงคะแนนเสียง (the right to vote) เช่นการให้สิทธิ

                            ในการลงคะแนนกับพลเมือง และการคำานึงถึงข้อจำากัดทางอายุและภูมิลำาเนา รวมทั้ง
                            การลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง

                      5.    ข้อปฏิบัติทางด้านการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (voter registration) อาทิ ความยุ่งยาก

                            ในการลงทะเบียน และใช้เอกสารในการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง

                      6.    ข้อปฏิบัติทางด้านการให้ความรู้แก่พลเมืองและข้อมูลแก่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (civic education

                            and voter information) ในเรื่องของความเข้าใจระบบการเลือกตั้งและข้อปฏิบัติในการเลือกตั้ง
                            แก่ประชาชน ทั้งในโรงเรียนและในสถานที่อื่น ๆ

                      7.    ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ลงสมัครเลือกตั้ง พรรคการเมือง และ องค์กรทางการเมืองรวมไปถึงด้าน

                            การรับการสนับสนุนด้านการเงิน (candidates, political parties and political organization
                            including funding) เรื่องนี้จะเชื่อมโยงกับระบบการเลือกตั้งที่มีอยู่ ว่าจะมีผลต่อโอกาสของ

                            ผู้สมัครในการได้รับเลือก หรือ พรรคเล็ก พรรคใหญ่จะเสียเปรียบหรือได้เปรียบกันอย่างไร

                      8.    ข้อปฏิบัติทางด้านการรณรงค์การเลือกตั้ง รวมไปถึงการป้องกันและเคารพสิทธิมนุษยชน

                            ขั้นพื้นฐาน การพบปะทางการเมือง การเข้าถึงสื่อ และการที่สื่อนั้นสามารถลงข่าวได้ทั่วถึง
                            (electoral campaigns including protection and respect for fundamental
                            human rights, political meeting, and media access and coverage) หมายถึงว่า

                            ผู้สมัครและพรรคนั้นมีเสรีภาพในการรณรงค์มากน้อยเพียงใด และประชาชนมีโอกาสรับรู้

                            ข่าวสารจากทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมหรือไม่

                      9.    ข้อปฏิบัติทางด้านการลงคะแนน การสังเกตการณ์และควบคุมการเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้ง
                            (balloting, monitoring and results) โดยเน้นพิจารณาที่วันลงคะแนนว่าการตั้งหน่วยนั้น

                            เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ตัวเจ้าหน้าที่ควบคุมหน่วยนั้นมีความรู้ความสามารถหรือไม่ ขั้นตอน
                            มีความชัดเจนหรือไม่ ตัวแทนพรรคมีที่หน่วยหรือไม่ การลงคะแนนนั้นเป็นการลงคะแนนลับ

                            ในคูหาหรือไม่ ความมั่นคงของหีบบัตร ความซื่อตรงของการนับคะแนน  และการแปรผล
                            จากการนับคะแนนไปสู่ผลทางการเมือง

                      10.   ข้อปฏิบัติทางด้านข้อร้องเรียน และ การแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง (complaints and dispute

                            resolution) หมายถึงประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการรับเรื่องและแก้ปัญหา (Goodwin-

                            Gill, 2006) ขณะที่ Bishop and Hoeffler (2016) ได้ปรับปรุงหลักการ 10 ข้อนี้มาวัดประเมินผล
                            เชิงปริมาณกับ การเลือกตั้ง 1,114 ครั้ง ใน 169 ประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1975 ถึง 2011
                            พบว่า แนวโน้มที่การเลือกตั้งจะมีความเสรีและเป็นธรรมมีแนวโน้มที่จะลดลง จากร้อยละ 70

                            ในช่วงทศวรรษแรก มาสู่ร้อยละ 45 ในทศวรรษสุดท้ายของการประเมินผล และการเลือกตั้ง

                            ในช่วงหลังนั้นมักเป็นเรื่องของการที่รัฐบาลใช้การเลือกตั้งในการสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง
                            มากกว่าที่จะกล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และส่วนใหญ่การเลือกตั้ง
                            ที่มีปัญหามักจะมีปัญหาในช่วงก่อนวันเลือกตั้ง (Bishop and Hoeffler, 2016)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60