Page 52 - kpiebook63010
P. 52

51








                          การทุจริตการเลือกตั้งนั้นมีด้วยกันหลายแบบ อาทิ การชักใย-ปรับปั่นผู้ลงคะแนนเสียง (electorate

                  manipulation) ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง ได้แก่ การที่ผู้มีอำานาจรัฐควบคุมองค์ประกอบของกลุ่มผู้ลงคะแนนเสียง
                  ให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ เช่น ย้ายคนมาในเขตเลือกตั้ง (การชักใย-ปรับปั่นด้านประชากร manipulation

                  of demography) หรือการพรากสิทธิผู้ลงคะแนนเสียงบางกลุ่ม (disenfranchise) เช่น คนที่ย้ายถิ่นแล้วไม่มี
                  ระบบลงคะแนนนอกเขต หรือชื่อหายไปจากผู้มีสิทธิ การแบ่งแยกฝ่ายต่อต้าน/พรรคออกจากกันไม่ให้รวมตัวกันได้

                  (หรืออาจตัดคะแนนกันเอง) การข่มขู่ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้วยวาจา กำาลัง หรือข้อกฎหมาย (intimidation)
                  การโจมตีสร้างความเสียหายกับหน่วยเลือกตั้งของฝ่ายตรงข้าม การบังคับ นอกจากนี้ การทุจริตเลือกตั้งยังรวมไปถึง

                  การซื้อเสียง (vote buying) ที่มีตั้งแต่การใช้เงินซื้อ การหยิบยื่นสินค้าและบริการ นอกจากนี้ การซื้อเสียง
                  ยังสัมพันธ์แนบแน่นกับระบบอุปถัมภ์ (clientelism) ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป (สรุปสาระสำาคัญจาก Wikipedia, 2019)


                          การทุจริตการเลือกตั้งนั้นแม้ว่าจะผิดกฎหมาย หรือมีข้อถกเถียงที่ว่าอาจจะไม่ส่งผลต่อผลคะแนนรวม

                  ของการเลือกตั้งในมุมของผู้รับรองผลการเลือกตั้งดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำาคัญก็คือ
                  การทำาความเข้าใจการทุจริตการเลือกตั้งในมุมของสังคมโดยเฉพาะในมุมของประชาชนผู้เลือกตั้งนั้นก็มี

                  ความสำาคัญและขึ้นกับบริบทของแต่ละสังคมนั้นเป็นอย่างมาก อาทิ การรับรู้ในเรื่องนิยามการทุจริตการเลือก
                  ตั้ง หรือความเปลี่ยนแปลงในการให้ความหมายและความสำาคัญในเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งที่แตกต่างกันไปใน

                  แต่ละยุคสมัย รวมทั้งการรับรู้ของนักวิชาการเองในระดับแนวคิดทฤษฎี (Alvarez, Hall, and Hyde, 2009)
                  นอกจากนี้ การทุจริตการเลือกตั้งนั้นหากถูกรับรู้โดยประชาชนก็อาจจะมีผลทางด้านลบต่อความเชื่อมั่นของ

                  ประชาชนต่อกระบวนการเลือกตั้ง และอาจทำาให้เกิดการปฏิรูปการเมืองทั้งในแบบที่ปรับปรุงการเลือกตั้งในอนาคต
                  หรือเป็นเพียงการนำาเอาอคติและผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มใส่ไว้ในกระบวนการปฏิรูปดังกล่าว (เพิ่งอ้าง)



                          2.1.8.2 ระบบอุปถัมภ์และกำรทุจริตกำรเลือกตั้ง


                          เราอาจพิจารณาว่าระบบอุปถัมภ์ (clientelism) นั้นเป็นสถาบันทางการเมืองและเป็นสถาบัน

                  ทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการที่มีความเกี่ยวข้องทั้งกับการเมืองในภาพรวมและในประเด็นการเลือกตั้งเป็นพิเศษ


                          ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง (political clientelism) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเมืองของการกระจาย
                  ความมั่งคั่ง (distributive politics) ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปแบบ (Golden and Min, 2013) แต่ระบบอุปถัมภ์

                  ทางการเมืองหมายถึงการให้สรรพสิ่ง (goods) เพื่อแลกกับการสนับสนุนการเลือกตั้ง ซึ่งภายใต้ระบบอุปถัมภ์
                  ทางการเมืองนี้เงื่อนไขสำาคัญในการตัดสินใจในการให้และแลกนั้นก็คือคำาถามที่ว่า เมื่อให้สรรพสิ่งนั้นไปแล้ว

                  ผู้ได้รับสรรพสิ่งหรือผู้ใต้อุปถัมภ์นั้นจะให้การสนับสนุนผู้ให้หรือผู้อุปถัมภ์หรือไม่ ดังนั้นจะเห็นว่าระบบอุปถัมภ์
                  ทางการเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับการระดมผู้คนและทรัพยากรในการเลือกตั้ง (electoral mobilization) (Stokes,

                  2011) ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว เมื่อพิจารณาเรื่องระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองจะพบเรื่องสำาคัญอยู่สองเรื่องใหญ่
                  นั่นก็คือ เรื่องของ การซื้อเสียง (vote buying) และ การเป็นผู้อุปถัมภ์ (patronage) ซึ่งมีความหมายเฉพาะ

                  ไปที่เรื่องของการแลกเปลี่ยนทรัพยากรของส่วนรวมหรือสาธารณะให้โดยผู้อุปถัมภ์ที่อยู่ในอำานาจรัฐกับ
                  ผู้ใต้อุปถัมภ์ อาทิ การจ้างงานเพื่อได้รับการสนับสนุนในการเลือกตั้ง ขณะที่ระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นคำาที่กว้างกว่านั้น
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57