Page 41 - kpiebook63010
P. 41
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
5) สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำาให้
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจากการเลือกตั้ง
ครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็นพรรคการเมือง
หรือความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1.4 วิธีกำรศึกษำวิจัย
อาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ได้แก่
1.4.1 เอกสำรต่ำง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กรอบของกฎหมาย เช่น ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
การเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาท
ของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัด
ที่กำาหนดทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ
ผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้ง
1.4.2 กำรสัมภำษณ์อย่ำงเจำะลึกในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการบริหารพรรค และ อดีตคณะกรรมการ
บริหารพรรค ผู้สมัครรับเลือกตั้ง องค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งทั้ง กกต. และ องค์กรเอกชน ผู้นำาชุมชน
เจ้าหน้าที่การเลือกตั้งในระดับเขต
1.4.3 กำรสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง
กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ช่วงการเลือกตั้ง และช่วยหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร