Page 36 - kpiebook63010
P. 36
35
เมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2561 และในที่สุด ก็มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 และในที่สุด คณะกรรมการเลือกตั้ง
ก็ได้ออกประกาศกำาหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 โดยอาศัยอำานาจ
ตามความในมาตรา 12 แห่งระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2561 โดยกำาหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
แม้ว่านับจากการรัฐประหารเป็นต้นมาการเมืองในประเทศจะจำากัดสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
โดยเฉพาะของนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามนับตั้งแต่การปรับทัศนคติ การห้ามออกนอกประเทศ การอายัติบัญชี
เงินฝาก ฯลฯ แต่ก็ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำารัฐประหาร โดยเฉพาะนิสิต
นักศึกษา นักวิชาการ สื่อมวลชนบางส่วน และนักกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่รัฐบาลและคสช.ก็มีการปราบปราม
ด้วยการใช้คำาสั่งของคณะรัฐประหาร รวมทั้งการดำาเนินคดีด้วยศาลทหาร รวมทั้งใช้กลไกปฏิบัติการทางจิตวิทยา
และสงครามข่าวสาร แต่กระนั้นก็ตามในช่วงท้ายของการอยู่ในอำานาจพิเศษของคณะรัฐประหาร และการก้าวสู่
การเลือกตั้งนั้น จะเห็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนักการเมืองและผู้ที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเฉพาะเครือข่าย กปปส. และ เครือข่ายประชาธิปไตย เข้ามาก่อตั้งพรรคการเมือง
อาทิ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรครวมพลังประชาชาติไทย และ พรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับการเมือง
อย่างคึกคัก ทั้งนี้รวมไปถึงการเกิดพรรคพลังประชารัฐที่ก่อตั้งโดยอดีตรัฐมนตรีสี่คนของรัฐบาลและการดึงเอา
บุคคลหน้าใหม่ ๆ ที่เกี่ยวพันกับรัฐบาลและระบอบรัฐประหารเข้ามามีสังกัดพรรคและลงสมัครในนามพรรค
รวมถึงการมีอดีตกลุ่มของนักการเมืองบางส่วนเข้าไปร่วมกับพรรคดังกล่าวด้วย อาทิ กลุ่มสามมิตร
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ได้กล่าวถึงข้างต้นได้ส่งผลให้การเลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างจาก
การเลือกตั้งที่ผ่านมาตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2544 โดยสิ้นเชิง เช่น การเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว โดยใช้การนับคะแนน
แบบจัดสรรปันส่วนผสม และยังมีมาตรการใหม่ที่กำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้น (แม้ภายหลัง
จะมีมาตรา 44 ออกมาสร้างความยืดหยุ่นให้กับมาตรการดังกล่าว) มีเงื่อนไขใหม่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง
หน้าที่และสถานภาพของสมาชิกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งมีการกำาหนดโทษ
ของพรรคการเมืองไว้สูงมาก มีการกำาหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและวิธีการ
หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในมาตรา 62-83 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
เลือกตั้งก็มีความเปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการการเลือกตั้งมีบทบาทที่เพิ่มมากขึ้น มีการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกติกา หรือบทบัญญัติใหม่ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผล
ต่อโครงสร้างทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองไทยอีกหลายสถาบัน ซึ่งยังไม่นับถึง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ ที่ให้บทบาทหน้าที่กับองค์กรอื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อ
อำานาจและบทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
ด้วยการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางอำานาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองในช่วงระยะเวลา
8 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นที่จับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา