Page 34 - kpiebook63010
P. 34
33
บทที่ 1
บทน�ำ
1.1 ควำมเป็นมำและควำมส�ำคัญของปัญหำ
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทย
ไม่ได้มีการเลือกตั้งติดต่อกันถึงระยะเวลา 8 ปี ถ้านับย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อนหน้านั้น
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างของทางอำานาจ
และโครงสร้างของสถาบันการเมืองไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางอำานาจ
ของประเทศไทยหลายประการ นับจากการขึ้นสู่อำานาจด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมีนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่อหมายเลขหนึ่งของพรรคเพื่อไทย
เป็นนายกรัฐมนตรี และการเกิดขึ้นของกลุ่มการเมืองโดย กปปส. เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ที่สามารถระดม
ความสนับสนุนจากประชาชนบางส่วนเพื่อชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ต่อต้านการบริหาร
งานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า
การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งภายในวันเดียวกันทั่วประเทศได้
(เพราะหน่วยเลือกตั้งถูกปิดล้อมไปด้วยผู้ชุมนุมจาก กปปส) และในที่สุดก็เกิดการรัฐประหาร โดยคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำาของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นการทำารัฐประหารครั้งที่ 13 ในประเทศไทย
ภายหลังการทำารัฐประหาร คสช.ได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง
และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
โดยคสช.ได้แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำาหน้าที่แทนรัฐสภา เมื่อ 31 กรกฎาคม 2557
และสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเลือก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อ 21 สิงหาคม 2557 โดยที่มี คสช.มีบทบาทสำาคัญในการร่วมบริหารประเทศเหนือรัฐบาลขึ้นไป ทั้งนี้