Page 37 - kpiebook63010
P. 37

36       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษได้หรือไม่ และจะทำาให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพได้หรือไม่

             การปฏิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
             ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้ ผลของการเลือกตั้งยังจะ

             ยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมืองบางพรรคที่เคยก่อร่างสร้างตัว
             มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่


                      การจับตาของประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น จึงควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

             ทางการเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมือง กติกาใหม่ทางการเมือง ซึ่งมีความสำาคัญ
             เป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป


                      รายงานวิจัยฉบับนี้ทำาการวิจัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความน่าสนใจในการ

             ทำาการศึกษาในเรื่องของความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลเบื้องต้นสี่ประการดังนี้


                      ประการแรก กรุงเทพมหานครมีจำานวน ส.ส. มากที่สุดในประเทศ คือ 30 คน แม้ว่าจะลดลง
             จากคราวที่แล้วถึง 3 คน การมี ส.ส.จำานวนมากที่สุดสะท้อนให้เห็นถึงการที่กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มี

             ประชากรมากที่สุด และเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และ สังคม รวมทั้ง
             ส่งอิทธิพลทางการเมืองต่อพื้นที่ที่เหลือของประเทศเพราะมีพื้นที่สื่อมากที่สุด


                      ประการที่สอง การลดลงของจำานวน ส.ส. ในครั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

             ซึ่งจะมีผลทำาให้เกิดการขยับพื้นที่ของ ส.ส. เดิม


                      ประการที่สาม พื้นที่กรุงเทพมหานครเดิมเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างพรรคเพื่อไทย กับ
             พรรคประชาธิปัตย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นพรรคที่เชื่อมโยงมาจาก พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน

             และ ความนิยมของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยแม้จะมีชัยชนะทุกครั้งในการเลือกตั้งระดับชาตินับตั้งแต่
             ปี พ.ศ. 2544 แต่พรรคเพื่อไทยไม่ได้มีชัยชนะในเขตกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์

             แม้จะไม่ได้รับชัยชนะในระดับชาติ แต่กลับรักษาพื้นที่ความนิยมในกรุงเทพอย่างเหนียวแน่นมาโดยตลอด
             ทั้งในระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และ สมาชิก

             สภาเขต นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากขบวนการเสื้อเหลือง
             และ ขบวนการ กปปส. ซึ่งมีฐานความนิยมเกี่ยวเนื่องกับพรรคประชาธิปัตย์ เห็นได้จากการที่สมาชิกพรรค

             ประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งเข้าร่วมและแสดงทัศนะร่วมกับขบวนการดังกล่าว


                      ประการที่สี่ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ภายใต้กฎกติกาใหม่ การปรับเขตเลือกตั้ง และ บริบททางการเมือง
             ที่เปลี่ยนไป ได้มีพรรคใหม่ ๆ เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้รับความนิยม

             จากคนรุ่นใหม่ พรรครวมพลังประชาชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคที่รวมตัวสมาชิกหลักของ กปปส และ พรรคพลังประชารัฐ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42