Page 39 - kpiebook63010
P. 39

38       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร






             1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ





             1.3.1 ขอบเขตด้ำนเวลำ


                      ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงระหว่าง
             การมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลังจากคณะกรรมการ

             เลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร


             1.3.2 ขอบเขตประชำกร



                      ประชากรที่ทำาการศึกษาได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรอิสระ
             องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับ

             เขตจังหวัดที่กำาหนด ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
             ในกรุงเทพมหานคร



             1.3.3 ขอบเขตพื้นที่


                      กรุงเทพมหานคร


             1.3.4 ขอบเขตเนื้อหำ


                     1.3.4.1 พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง


                      เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ในทุกประเด็น เช่น การเลือกตั้งในครั้งนี้มีความเหมือน

             หรือแตกต่างจากการเลือกตั้งที่เคยผ่านมาในพื้นที่หรือไม่ มีประเด็นใดบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญในเรื่องใด
             และส่งผลกระทบสำาคัญในเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร นอกจากนี้ยังศึกษาความแตกต่างหลากหลาย

             (diversity) ของผู้สมัคร ในมิติความหลากหลายทางเพศ ชาติพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ (พิการ) และการทำางาน
             ในพื้นที่ รวมถึงการแข่งขันทางการเมืองทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียง กลยุทธ์

             วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนการแข่งขันในส่วนที่ปิดบังเช่น การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน
             การแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น


                     1.3.4.2 กำรใช้เงินในกำรหำเสียงเลือกตั้ง


                      1)    ศึกษาผลของการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่

                            โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผลที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่
                            ผ่านการศึกษาบทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการเลือกตั้งว่ามีวิธีควบคุมตรวจสอบ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44