Page 35 - kpiebook63010
P. 35

34       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             พลเอกประยุทธ์มีสถานะสองสถานะในเวลาเดียวกัน คือ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหัวหน้า คสช.

             ซึ่งพลเอกประยุทธ์มีอำานาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ตามมาตรา 44 ที่ให้อำานาจกับหัวหน้า คสช.
             ในการออกคำาสั่งที่มีผลในทางการบริหาร นิติบัญญัติ และ ตุลาการ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบันอื่น

             และยังสามารถออกคำาสั่งดังกล่าวได้จนถึงเมื่อมีการตั้งรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม
             พ.ศ. 2562 ซึ่งหากนับรวมแล้ว มีคำาสั่งภายใต้อำานาจของมาตรา 44 ถึง 456 ฉบับ (ประชาชาติธุรกิจ, 2562ก)

             ทั้งนี้รวมไปถึงการที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ยังมีอำานาจเต็มภายหลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกา
             ให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับขนบของการบริหารประเทศในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่รัฐบาลจะอยู่ในสถานะรัฐบาล

             รักษาการณ์ซึ่งไม่สามารถใช้อำานาจเต็มได้ หลังจากนั้น คสช.ได้แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
             250 คน ให้มีอำานาจเสนอข้อเสนอปฏิรูปและรับรองรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อ 6 ตุลาคม 2557


                      คสช.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (ชุดแรก) นำาโดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เมื่อวันที่

             4 พฤศจิกายน 2557 และทำาการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งในท้ายที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติไม่รับร่าง
             รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 จากนั้นมีการยุบสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

             และต่อมา คสช. ได้เลือกสมาชิกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่นำาโดย นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ และ
             มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน เพื่อควบคุมดูแลแผนการปฏิรูปของ คสช.

             เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558

                      ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างโดยนายมีชัยแล้วเสร็จ เมื่อ 29 มีนาคม 2559 และเมื่อ 7 เมษายน 2559

             ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาประเด็นคำาถามที่จะเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

             ในการจัดทำาประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพิ่มเติม โดยรับฟังความเห็นจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป
             ประเทศ(สปท.) ซึ่งมีมติเสนอให้ สนช. พิจารณา ในท้ายที่สุดก็เกิดเป็นคำาถามพ่วงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ
             ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เมื่อ 7 สิงหาคม 2559 ที่ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูป

             ประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำาหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก

             นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
             บุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”


                      ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ผ่านการลงมติด้วยคะแนน เห็นชอบ ร้อยละ 61.35 (16,820,402 คะแนน)
             และ ไม่เห็นชอบ ร้อยละ 38.65 (10,598,037 คะแนน) ส่วนการลงประชามติประเด็นเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล

             ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็ผ่านการลงประชามติด้วยคะแนน เห็นชอบ ร้อยละ 58.07 (15,132,050 คะแนน)

             และไม่เห็นชอบ ร้อยละ 41.93 (10,926,648 คะแนน) (ไทยรัฐออนไลน์ 2559) และในที่สุด ร่างรัฐธรรมนูญ
             ฉบับดังกล่าวก็ได้รับการลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังจากนั้นก็มีการประกาศพระราชบัญญัติ
             ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 เมื่อ 13 กันยายน 2560 (นับจากวันที่ลงประกาศ

             ในราชกิจจานุเบกษา) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

             เมื่อ 7 ตุลาคม 2560 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40