Page 104 - kpiebook63010
P. 104

103








                  ที่จะทำาให้อยากไปเลือกตั้ง) คิดเป็นร้อยละ 60.7 2. เหตุผลในเรื่องอารมณ์ความรู้สึก ความไม่ชอบและไม่เห็น

                  ประโยชน์ของการเลือกตั้ง และ 3. ปัญหาและอุปสรรคในการไปเลือกตั้ง (รถติด ฝนตก มีธุระที่จำาเป็น ไม่มีรายชื่อ
                  ในบัญชีเลือกตั้งฯ)




                          การเลือกตั้งทั่วไป 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ครั้งที่ 21)


                          เป็นการเลือกตั้งที่เกิดภายหลังการประกาศยุบสภาของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้ารัฐบาล
                  จากพรรคชาติไทยในสมัยนั้น หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่นำาโดยนายชวน หลักภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

                  การเลือกตั้งจบลงด้วยชัยชนะของ พลเอกชวลิต หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ได้จัดตั้งรัฐบาล


                          พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2541) ศึกษาเรื่อง “ชนชั้นกับการเลือกตั้ง: ความรุ่งเรืองและความตกตำ่า
                  ของสามพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร” และเป็นงานชิ้นเดียวที่ใช้กรอบการวิเคราะห์ในเรื่องชนชั้น

                  แทนที่จะเน้นที่ตัวปัจเจกบุคคลในฐานะผู้ลงคะแนนเสียง (แต่ถ้าวิเคราะห์ลึกลงไป ชนชั้นของพิชายเป็นชนชั้น
                  ในความหมายกว้างทางสังคมวิทยา ที่อิงกับงานของ Lipset มากกว่าชนชั้นในความหมายของ Marxist)

                  งานของพิชายต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเลือกพรรคการเมือง
                  และเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเลือกตั้ง และศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่มีผลต่อชนชั้นต่าง ๆ ในการออกไปใช้สิทธิ

                  เลือกตั้ง การเลือกพรรคการเมือง และเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกตั้ง โดยศึกษาการเลือกตั้งในอดีตไล่เรียงมาอย่าง
                  กว้าง ๆ และมาเน้นที่การเลือกตั้งทั่วไป 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ถึงการเลือกตั้งทั่วไป 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539


                          ผลการศึกษาพบว่าการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของชาวกรุงเทพฯ ถูกกระตุ้นโดยเงื่อนไขความพยายามเข้ามา

                  ครอบงำาทางการเมืองของทหาร การเกิดพรรคการเมืองใหม่ที่น่าจะเป็นความหวัง การหวาดวิตกต่อการเข้ามา
                  มีอำานาจของกลุ่มทุนท้องถิ่น และการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนประเภทสองทาง (คือเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้มี

                  การสนทนา โต้ตอบกับประชาชน เช่นรายการวิทยุ) เงื่อนไขเหล่านี้มีผลกระทบต่อชนชั้นกลางในสัดส่วนที่
                  สูงกว่าชนชั้นล่าง โดยเมื่อปัจจัยการคุกคามของกลุ่มทหารลดลง ชนชั้นกลางถูกกระตุ้นให้ไปเลือกตั้งโดยการเกิดขึ้น

                  ของพรรคใหม่ ๆ เช่น ในการเลือกตั้งปี 2531 และปี 2538 ส่วนความกลัวต่อกลุ่มทุนท้องถิ่นเข้ามามีอำานาจ
                  ทางการเมืองเห็นได้ในการเลือกตั้งปี 2539 ที่มีผู้ไปใช้สิทธิร้อยละ 48.97 ของจำานวนผู้มีสิทธิทั้งหมดในกรุงเทพฯ

                  ทั้งที่พรรคพลังธรรมที่เคยเป็นความหวังก็ตกตำ่า ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็มีปัญหาเรื่องนโยบายที่ดิน ทั้งสองพรรค
                  จึงไม่มีแรงดึงดูดใจต่อชนชั้นกลางเพียงพอ แต่คนก็ยังออกไปใช้สิทธิมากเพื่อเลือกพรรคที่มีจุดยืนหรือภาพพจน์

                  ที่ตรงข้ามกับกลุ่มทุนท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีสื่อมวลชนสองทางและรายการโทรทัศน์ที่เปิดโอกาสการรับรู้มากขึ้น
                  จึงมีส่วนกระตุ้นคนให้รู้สึกอยากมีส่วนร่วมทางการเมือง


                          พรรคการเมืองที่ผู้เลือกตั้งในกรุงเทพฯนิยมเลือกสูงสุดนับแต่ปี 2522 คือ พรรคประชากรไทย พลังธรรม

                  และประชาธิปัตย์ กรณีการเลือกพรรคประชากรไทยนั้นบุคลิกภาพของหัวหน้าพรรคและแนวทางการทำางาน
                  ของพรรคเป็นปัจจัยหลัก ส่วนความแตกแยกของพรรคคู่แข่งเป็นปัจจัยรอง พรรคประชากรไทยมีความนิยม

                  ในกลุ่มชนชั้นล่าง การทำางานเน้นผลงานรูปธรรมและผลประโยชน์เฉพาะหน้าทำาให้พรรคดูเหมือนมีผลงาน
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109