Page 105 - kpiebook63010
P. 105

104      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นล่าง แต่พรรคก็มีข้อจำากัดในการขยายความนิยมไปสู่ชนชั้นกลางซึ่งก็เป็นผลมาจาก

             บุคลิกของหัวหน้าพรรค พรรคจึงประสบปัญหาในการได้รับเลือกตั้งในสภาพที่ชนชั้นกลางไปใช้สิทธิมาก แต่ถ้า
             พรรคอื่นมีปัญหาแตกแยกภายใน และไม่มีสถานการณ์ทางการเมืองที่แหลมคม พรรคก็มีโอกาสได้รับเลือกสูง

             ส่วนพรรคพลังธรรมมีพื้นฐานจากอำานาจบารมีของหัวหน้าพรรคเป็นหลัก กระแสทางการเมืองเป็นปัจจัยหนุน
             บุคลิกหัวหน้าพรรคพลังธรรมมีภาพผู้ปฏิบัติธรรม สมถะ ซื่อสัตย์เป็นฐานสร้างความนิยม ส่วนหัวหน้าพรรค

             คนต่อมาในการเลือกตั้งปี 2538 ใช้ภาพความเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการบริหาร ความรุ่งเรือง
             ของพรรคพลังธรรมเกิดจากความต้องการของผู้คนในการแสวงหาพรรคแนวใหม่ที่เป็นความหวังสำาหรับ

             การเมืองไทย อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมทางการเมืองของหัวหน้าพรรค และของสมาชิกซึ่งแตกแยกภายใน ส่งผลให้
             ชนชั้นกลางเห็นว่าพรรคนี้ไม่แตกต่างจากพรรคอื่น ๆ และเมื่อพรรคนี้ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคของกลุ่มทุนท้องถิ่น

             ก็ทำาให้ชนชั้นกลางมองว่าพรรคนี้เทียบเท่ากับพรรคอื่นที่โตจากต่างจังหวัด ส่วนพรรคประชาธิปัตย์รุ่งเรืองจาก
             การเป็นฝ่ายค้าน และความหวาดวิตกของกลุ่มชนชั้นกลางต่อกลุ่มทหารและทุนท้องถิ่น ในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์

             เป็นพรรคร่วมรัฐบาลนั้นมักจะได้รับเลือกตำ่า ยกเว้นจะมีสถานการณ์การเมืองในเชิงการคุกคามจากอำานาจ
             ภายนอก ก็จะทำาให้พรรคนี้ได้รับความนิยมเพิ่ม บทบาทฝ่ายค้านยังเห็นผลเมื่อผนวกกับความกลัวกลุ่มทุนท้องถิ่น

             ของผู้เลือกตั้งชนชั้นกลาง ทำาให้พรรคได้รับความนิยมสูงในการเลือกตั้ง ปี 2539 (เพิ่งอ้าง)


                      เงื่อนไขของการเลือกพรรคต่าง ๆ มีดังนี้ 1) บุคลิกและภาพพจน์ของหัวหน้าพรรค กลุ่มชนชั้นล่าง
             นิยมหัวหน้าพรรคที่มีบุคลิกตรงไปตรงมา พูดเก่ง ไม่รังเกียจแม้ว่าแข็งกร้าว ส่วนชนชั้นกลางนิยมหัวหน้าพรรค

             ที่มีภาพพจน์อ่อนน้อม ซื่อสัตย์ มีความสามารถบริหาร 2) พฤติกรรมและบทบาททางการเมืองของพรรค
             มีผลต่อการเปลี่ยนความนิยมของกลุ่มชนชั้นล่างค่อนข้างน้อย แต่มีผลสูงในกลุ่มชนชั้นกลาง ชนชั้นกลาง

             ไม่นิยมพรรคที่แตกแยกภายใน ไม่นิยมพรรคที่สนับสนุนกลุ่มทหาร พรรคที่มีตราของกลุ่มทุนท้องถิ่น
             พรรคที่อื้อฉาวในการทุจริต ชนชั้นกลางนิยมพรรคที่ทำาหน้าที่ฝ่ายค้าน พรรคที่มีแนวทางใหม่แต่ต้องมีผู้นำา

             ที่มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์และการบริหาร 3) ความหวาดวิตกทางการเมือง ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก
             ของชนชั้นกลางมากกว่าชนชั้นล่าง หากมีสถานการณ์ทางการเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงการคุกคามจากอำานาจ

             ภายนอก ชนชั้นกลางมีแนวโน้มเลือกพรรคที่มีจุดยืนตรงข้ามกับกลุ่มอำานาจภายนอก หรือเมื่อใดที่ชนชั้นกลาง
             รู้สึกวิตกต่อการที่บุคคลที่ไม่ชอบเข้ามามีอำานาจ เช่นต่อกลุ่มทุนท้องถิ่นที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลในช่วงการเลือกตั้ง

             ปี 2539 ชนชั้นกลางก็จะออกไปเลือกพรรคที่เป็นคู่แข่งของพรรคนั้น ทั้งที่อาจไม่นิยมพรรคที่ตนเลือกเป็นพิเศษ
             4) การสร้างกระแสอารมณ์ของสื่อมวลชน มีอิทธิพลต่อการชี้นำาทัศนคติต่อพรรคการเมืองค่อนข้างสูง

             หากผู้เลือกตั้งผู้นั้นยังไม่มีความผูกติดกับพรรคใด แต่จะไม่มีผลต่อผู้เลือกตั้งที่มีความมั่นคงหนักแน่นต่อพรรค
             เห็นได้จากกรณีหัวหน้าพรรคประชากรไทยที่วิจารณ์สื่อโดยไม่กลัวการตอบโต้แต่ก็ยังมีคะแนนนิยม สื่อมวลชน

             มีอิทธิพลชี้นำาค่อนข้างสูงต่อผู้เลือกตั้งที่เลื่อนลอย และถ้ามีความเป็นจริงรองรับระดับหนึ่งก็ยิ่งทำาให้การชี้นำา
             มีนำ้าหนัก เห็นได้จากการที่ชนชั้นกลางรังเกียจนักการเมืองบางพรรคและไม่ต้องการให้หัวหน้าพรรคนั้นเป็น

             นายกรัฐมนตรีในช่วงก่อนการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2539 5) ในการแข่งขันที่สูสี ไม่มีเงื่อนไขหัวหน้าพรรค
             โดดเด่น ไม่มีสถานการณ์ที่ต้องแสดงการต่อต้าน ไม่มีการสร้างกระแสชี้นำา ผลการเลือกตั้งมีแนวโน้มจะถูก

             กำาหนดจากปัจจัยผลประโยชน์เฉพาะหน้า เมื่อกลุ่มชนชั้นกลางกระจายการเลือกไปยังพรรคที่ชอบหลายพรรค
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110