Page 106 - kpiebook63010
P. 106

105








                  ทำาให้คะแนนจัดตั้งของชนชั้นล่างมีนำ้าหนักในการชี้ขาดชัยชนะ เช่น การเลือกตั้งในปี 2531 และ 2539

                  6) เงื่อนไขด้านตัวบุคคลของผู้สมัคร บุคคลอาจสร้างคะแนนนิยมให้กับตนเองโดยสร้างบทบาททางการเมือง
                  ให้โดดเด่น ตัวอย่างตั้งแต่ปี 2535 เช่น เฉลิม อยู่บำารุง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และปวีณา หงสกุล 7) องค์กรจัดตั้ง

                  พื้นฐานของพรรคเพื่อทำางานในระดับมวลชน พรรคที่แข่งขันโดยขาดฐานมวลชนในกรุงเทพฯ จะประสบความสำาเร็จยาก
                  8) ยุทธวิธีหาเสียง มีความสำาคัญสูงหากเงื่อนไขอื่น ๆ อยู่ในสภาพไม่แตกต่างกันนักและการแข่งขันสูสีกัน

                  โดยรวมแล้วเงื่อนไขเหล่านี้มีผลต่อการเลือกพรรคต่างกันไปในการเลือกตั้งแต่ละสมัยด้วย (เพิ่งอ้าง)


                          เกณฑ์ในการเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งกรุงเทพฯ ใช้ คือ การเลือกเป็นพรรคมากกว่าการเลือกเป็นตัวบุคคล
                  กลุ่มชนชั้นกลางที่เลือกบุคคลเป็นเกณฑ์มีแนวโน้มจะเลือกพรรคเป็นเกณฑ์มากขึ้นหากการเมืองมีการแบ่งขั้ว

                  ชัดเจน ส่วนชนชั้นล่างที่เลือกบุคคลเป็นเกณฑ์มีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปพิจารณาบุคคลและพรรคร่วมกัน
                  เมื่อสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองแหลมคมขึ้น การนิยมเลือกพรรคเป็นเกณฑ์เกิดจากการศรัทธาในบารมี

                  ของหัวหน้าพรรคเป็นหลักมากกว่านโยบายของพรรค หากคนเชื่อถือในหัวหน้าพรรคสูง ผู้สมัครก็ได้รับเลือกด้วย
                  แต่ถ้าบารมีของหัวหน้าพรรคเสื่อมลง ผู้สมัครก็ได้รับเลือกน้อย ถ้าพรรคไม่มีผู้นำาเชิงบารมี การเลือกเป็นพรรค

                  เกิดจากการที่ภาพพจน์ของพรรคนั้นมีภาพพจน์ดีกว่าพรรคคู่แข่ง หากผู้เลือกตั้งมีความรังเกียจหรือวิตกต่อพรรค
                  เชิงทุนท้องถิ่นที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ผู้เลือกตั้งก็จะเลือกพรรคคู่แข่ง ของพรรคทุนอิทธิพลท้องถิ่น (เพิ่งอ้าง)




                          การเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (ครั้งที่ 25)


                          การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากการยึดอำานาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
                  (คมช.) เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำานาจจากรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ครองอำานาจ

                  มาตั้งแต่ การเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยการยึดอำานาจในครั้งนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชุมนุม
                  ประท้วงรัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) หลังจากการยึดอำานาจ คมช.ได้ตั้ง

                  พลเอก สุรยุทธ จุลลานนท์ องคมนตรีขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2550 โดยเป็น
                  ครั้งแรกที่จัดให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการรัฐประหารในครั้งนั้นได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

                  ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ฉายาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนร่วมร่างมา
                  นอกจากนั้น คมช.ได้ยุบพรรคไทยรักไทย รวมทั้งมีตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำานวน 111 คน

                  เป็นเวลา 5 ปี ขณะที่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ การเลือกตั้งในครั้งนี้พรรคพลังประชาชน
                  ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากพรรคเพื่อไทยที่ถูกยุบได้ลงแข่งขันภายใต้การนำาของ นาย สมัคร สุนทราเวช และได้รับชัยชนะ


                          ฐปนรรต พรหมอินทร์ (2553) ศึกษาเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการออกเสียง

                  ประชามติและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 : กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                  1) ศึกษาบรรยากาศทั่วไป ความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่อนไหวของประชาชน องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น

                  พรรคการเมืองและนักการเมือง องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ
                  การออกเสียงประชามติ 2) สำารวจบรรยากาศทั่วไปในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111