Page 107 - kpiebook63010
P. 107

106      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             3) ศึกษาบทบาทและการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหา

             ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการออกเสียงประชามติ และการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. 4) ศึกษาความเคลื่อนไหว
             และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. 5) ศึกษาบทบาทของหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน

             องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้ง ส.ส.
             6) ศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติและ

             การเลือกตั้ง ส.ส. และ 7) นำาเสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการออกเสียงประชามติ และการเลือก
             ตั้ง ส.ส. ให้เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน


                      การศึกษาพบว่า ในส่วนการออกเสียงประชามติ มีทั้งส่วนของกระบวนได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

             100 คน และการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน เพื่อทำาหน้าที่ศึกษาและยกร่างรัฐธรรมนูญ
             เพื่อนำาไปสู่การลงประชามติ และมีความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการออกเสียงประชามติด้วยได้แก่

             ความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับจังหวัด พรรคการเมืองซึ่งแสดง
             ความเห็นในประเด็นสำาคัญ มีการแสดงความเห็นจากหลายองค์กรและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งจาก

             ภาครัฐและเอกชน โดยผู้มาลงประชามติในพื้นที่กรุงเทพมหานครมี 2,222,775 คน คิดเป็นร้อยละ 53.44 โดยเห็นชอบ
             ร้อยละ 65.80 และไม่เห็นชอบร้อยละ 34.20 ทั้งนี้ เขตทวีวัฒนามีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด ขณะที่เขตคลองเตย

             มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนน้อยที่สุด

                      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 12 เขต โดยมี

             ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 36 คน ขณะที่การเลือกตั้งในระบบสัดส่วนนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่ 6 ที่ประกอบด้วย 3 จังหวัด

             คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ


                      ในการตรวจสอบการเลือกตั้งนั้นมีองค์กรที่เข้ามาร่วมทำาหน้าที่ 5 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิธรรมศาสตร์
             ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชมรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายการมีส่วนร่วมทางการเมือง
             ภาคประชาชน กลุ่มออมทรัพย์บางซื่อพัฒนา และองค์กรเครือข่ายการเลือกตั้งภาคพลเมือง ปัญหาที่พบคือ

             การแจ้งประสานการทำางานขององค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งล่าช้า การจัดหน่วยเลือกตั้ง และการขานบัตร

             ที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นต้น

                      ผู้สมัครรับเลือกตั้งมี 357 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 85.7 กลุ่มที่มีจำานวนมากที่สุด

             สำาเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 34.1 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.1 การเลือกตั้ง
             ระบบเขตมีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร 17 พรรค โดยมีพรรคที่ได้รับเลือกตั้ง 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์

             26 คน และพรรคพลังประชาชน 10 คน ส่วนการเลือกตั้งแบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 5 คน
             พรรคพลังประชาชน 4 คน และพรรคเพื่อแผ่นดิน 1 คน


                      ข้อเสนอแนะคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ ควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดทำา

             ประชามติในประเด็นสำาคัญ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ขณะเดียวกัน
             ก็สนับสนุนให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112